ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ จัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros Decandra Lour
ลักษณะสำคัญ ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จันทร์หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei Drumm.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10 - 20 เมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จามจุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacg.) Merr
ลักษณะสำคัญ จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ - รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ด - รสฝาด แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ เปลือกต้น - รสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โลหิตตกใน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จิกทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูง 10 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีชมพูอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เมล็ดใช้ขับพยาธิ ใบผลและเปลือก เป็นยารักษาบรรเทาอาการปวดศรีษะ เปลือกผล หรือ เนื้อของผล ทำห้คนนอนไม่หลับ หลับสบายและใช้เป็นยาเบื่อปลา
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จันทร์กระจ่างฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pentalinon luteum
ลักษณะสำคัญ ต้น    ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง อายุหลายปี ลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียว และมีสีเเดงเรื่อ - ใบ    เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 เซนติเมตร  ยาว 7-9 เซนติเมตร ปลายและโคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวสดเป็นมัน - ดอก    สีเหลืองสด ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกรูปแตร โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก รูปกลมซ้อนเกยกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวขนาดเล็กเป็นเส้นๆ 5 อัน เกสรเพศผู้ 5 อัน ปลายโน้มมาจรดติดกัน แต่มีเกสรเพศ ผู้แยกจากกัน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จันผา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena loureiri Gagnep
ลักษณะสำคัญ ต้นจันผา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง หรือเป็นเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-4 เมตร (ต้นโตเต็มที่อาจมีความสูงถึง 17 เมตร) เรือนยอดเป็นรูปทรงไข่ มีเรือนยอดได้ถึง 100 ยอด เมื่อต้นโตขึ้นจะแผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรง กลม มีแผลใบเป็นร่องขวางคล้ายข้อถี่ๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ไม่มีกิ่งก้าน ใบจะออกตามลำต้น ส่วนแก่นไม้ด้านในเป็นสีแดง ต้นเมื่อมีอายุมากขึ้นแก่นจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง เราจะเรียกแก่นสีแดงว่า “จันทน์แดง” เมื่อแก่นเป็นสีแดงเต็มต้น ต้นก็จะค่อยๆ โทรมและตายลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะกล้าจากเมล็ดหรือการแยกกอ ชอบดินปนทรายหรือหินที่มีการระบายน้ำดี ความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดเต็มวันและแสงรำไร มักพบขึ้นตามป่าภูเขาหินปูนสูงๆ และมีแสงแดดจัด - ใบจันผา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันถี่ๆ ที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีขอบขนาน หรือเป็นรูปแถบยาวแคบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 45-80 เซนติเมตร เนื้อใบหนากรอบ โคนใบจะติดกับลำต้นหรือโอบคลุมลำต้น ไม่มีก้านใบ และมักจะทิ้งใบเหลือเพียงยอดเป็นพุ่ม - ดอกจันผา ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด โค้งห้อยลง ออกดอกเป็นพวงใหญ่ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อจะมีความยาวประมาร 45-100 เซนติเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กและมีจำนวนมากมายหลายพันดอก ดอกเป็นสีขาวนวล หรือขาวครีม หรือเขียวอมเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีจุดสีแดงสด กลีบดอกมี 6 กลีบ ดอกมีขนาดประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ก้านเกสรมีความกว้างเท่ากับอับเรณู ส่วนก้านเกสรตัวเมียปลายแยกเป็นพู 3 พู ชั้นกลีบเลี้ยงเป็นหลอด ที่ปลายกลีบแยกเป็นพูแคบๆ 6 พู ไม่ซ้อนกัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม - ผลจันผา ออกผลเป็นช่อพวงโต ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นพวง ผลมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมสีน้ำตาล ส่วนผลแก่เป็นสีแดงคล้ำ ภายในผลมีเมล็ดเดียว โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก่นมีรสขมเย็น สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ (แก่น /ทั้งต้น) - แก่นที่มีเชื้อราลง จนทำให้แก่นเป็นสีแดงและมีกลิ่นหอมมีสีแดง (เรียกว่า จันทน์แด]) มีรสขมและฝาดเล็กน้อย ใช้สำหรับเป็นยาเย็นดับพิษไข้ แก้ไข้ได้ทุกชนิด และจากการทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ในการลดไข้ แต่ต้องใช้ในปริมาณมากกว่ายาแอสไพริน 10 เท่า และจะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาแอสไพรินประมาณ 3 เท่า (แก่น/แก่นที่ราลง) - ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดีพิการ (แก่น/เนื้อไม้) - ช่วยแก้ไอ แก้อาการไออันเกิดจากซางและดี (แก่น/เนื้อไม้) - เมล็ดใช้รักษาดีซ่าน (เมล็ด) - ช่วยแก้อาจมไม่ปกติ (เมล็ด) - ทั้งต้นช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น) - ช่วยแก้ซาง (แก่น) - ช่วยแก้อาการเหงื่อตก อาการกระสับกระส่าย (แก่น) - ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (แก่น-ทั้งต้น) - ช่วยแก้ดีพิการ แก้น้ำดีพิการ (แก่น/เนื้อไม้) - ช่วยแก้บาดแผล รักษาบาดแผล (แก่น/ราก) - แก่นใช้ฝนทาช่วยแก้อาการฟกบวม ฟกช้ำ ฝี บวม (แก่น) - ช่วยแก้พิษฝีมีที่อาการอักเสบและปวดบวม (แก่น/ทั้งต้น) - จันผาจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดเบญจโลธิกะ” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง (แก่นจันผา/ แก่นจันทน์ขาว/ แก่นจันทน์ชะมด/ ต้นเนระพูสี/ ต้นมหาสะดำ) ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดี แก้ลมวิงเวียน กล่อมพิษทั้งปวง และช่วยแก้รัตตะปิตตะโรค (แก่น) - จันผาจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดจันทน์ทั้งห้า” (แก่นจันผา (แก่นจันทน์แดง)/ แก่นจันทน์ขาว/ แก่นจันทน์ทนา/ แก่นจันทน์เทศ/ แก่นจันทน์ชะมด) ซึ่งเป็นตำรับที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อโลหิตและดี ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงตับปอดและหัวใจ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น) - จันผาปรากฏอยู่ในตำรับยา “มโหสถธิจันทน์” อันประกอบไปด้วยจันทน์ทั้งสอง ได้แก่ จันทน์แดง (จันผา) และจันทน์ขาว ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ อีก 13 ชนิด ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั้งปวงที่มีอาการตัวร้อนและมีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ (แก่น) - จันผาปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” อันประกอบไปด้วยจันทน์แดง (จันผา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกในตำรับ ซึ่งเป็นตำรับที่ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน และไข้เปลี่ยนฤดู (แก่น) - จันผาปรากฏอยู่ใน “ตำรับยาเขียวหอม” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษสุกใส แก้พิษหัด บรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส (แก่น) - นอกจากนี้จันผาหรือจันทน์แดงยังปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) อันได้แก่ ตำรับยา “ยาหอมนวโกฐ” และตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” โดยเป็นตำรับยาที่มีส่วนประกอบของจันผาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกในตำรับ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (แก่น) - จันผาจัดอยู่ในตำรับ “ยาประสะจันทน์แดง” (ประกอบไปด้วยจันทน์แดง (จันผา) จำนวน 32 ส่วน รากมะนาว รากมะปรางหวาน รากเหมือนคน โกฐหัวบัว จันทน์เทศ ฝางเสน เปราะหอม อย่างละ 4 ส่วน ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง อย่างละ 1 ส่วน นำมาบดเป็นผงสำหรับใช้เป็นยา)  ซึ่งตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อน และช่วยแก้กระหายน้ำ สำหรับวิธีใช้ให้นำผงยาที่ได้ (ผู้ใหญ่ให้ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ส่วนเด็กให้ใช้ครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ) นำมาละลายในน้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิ ใช้รับประทานทุกๆ 3 ชั่วโมง (แก่น)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท