ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ กัลปพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Ceaib
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีดำแดงแตกเป็นร่องลึก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาระบายอ่อนๆ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กาซะลองคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis
ลักษณะสำคัญ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกตรงข้ามกัน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบนำมาตำคั้นน้ำทาหรือพอก รักษาแผลสด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กฤษณา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria crassna Pierre.A.malaccensis Lamk
ลักษณะสำคัญ เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียงศีรษะ แก้อาเจียนท้องร่วง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กำลังเสือโคร่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Betula alnoides Buch - Ham
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กันเกรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb
ลักษณะสำคัญ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียวตรงข้ามแผ่นใบรูปรี
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กาฬพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia grandis Linn
ลักษณะสำคัญ โคนมีพูพอนเปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาระบายอ่อนๆ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เกด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara hexandra
ลักษณะสำคัญ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมลำต้นและกิ่งก้างมักคดงอ
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระพี้จั่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia brandisiana Kurz
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีเทาใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับมีใบย่อย
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระบาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anisoptera costata Korth
ลักษณะสำคัญ ลำต้าเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกในสีเหลืองอ่อน
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex. A. W. Benn
ลักษณะสำคัญ ผลัดใบช่วงสั้นๆ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดแน่นทึบและแผ่กว้าง ลำต้นหนาโคนต้นที่อายุมากมักเป็นพูพอน เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 200 ซม.
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงไขข้อ แก้ข้อขัด บำรุงไต ฆ่าพยาธิในท้อง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระซิก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia parviflora Roxb.
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย เมื่อแก่เกลี้ยง ใบ ประกอบแบบนก ยาว 10 –20 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อยมี 5 – 7 ใบ ดอกมีขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ผล เป็นฝักแบน ขอบฝักบางคมคล้ายมีด ฝักแก่ไม่แตก เมล็ด รูปไต มี 1- 2 เมล็ด สีน้ำตาลอมแดง
สรรพคุณ/ประโยชน์ น้ำมันจากเนื้อไม้ ใช้รักษาแผลเรื้อรัง แก่นและราก มีกลิ่นหอมใช้ทำธูป
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กัลปพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Craib
ลักษณะสำคัญ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ23เซนติเมตรมีกลีบดอก5กลีบตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร มีลักษณะใบ เป็นพุ่มใบแบนกว้าง
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อในฝัก คนแก่สมัยก่อนใช้กินกับหมาก เปลือกฝัก เมล็ด รสขมเอียน ทำให้อาเจียน ถ่ายพิษไข้ เนื้อในฝัก รสหวานเอียนขม ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกไม่ไซ้ท้อง ระบายท้องเด็กได้ดีมาก (ฤทธิ์อ่อนกว่าเนื้อฝักคูน)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ การะเกด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus tectorius  Blume
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 3-7 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ กว้าง 0.7-2.5 ซม.ยาว 3-9 ซม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว 0.2-1 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอด มีจำนวนมาก ติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว 25-60 ซม. มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม เกสรเพศผู้ติดรวมอยู่บนก้านซึ่งยาว 0.8-2 ซม. ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน 3-5 อัน เป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายหยักตื้นเป็นร่องระหว่างยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง ผลเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. แต่ละผลกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย -  แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ -  อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เกาลัค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia monosperma Vent.
ลักษณะสำคัญ ต้น    สูง 4-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกเรียบหรืออาจแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น กิ่งอ่อนเกลี้ยง มีรอยแผลใบอยู่ทั่วไป - ใบ    เดี่ยว เรียงเวียนกันบริเวณใกล้ๆ ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม. โคนมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ปลายมนสอบแคบกว่าทางโคนใบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา เกลี้ยง ย่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนเป็นมัน เส้นกลางใบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดทางด้านล่าง ส่วนด้านบนมีสีเข้มตามแนวเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบตัดกับสีพื้นของแผ่นใบ ก้านใบยาว 2-10 ซม. เมื่อแห้งสีชมพูเรื่อๆ และมักหักทำมุมกับเส้นกลางใบเล็กน้อย - ดอก    ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 35 ซม. ห้อยลง มีช่อแขนงมาก ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆ รูปคล้ายโคมเล็กๆ ด้านนอกมีขนประปราย เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. ก้านดอกเรียวเล็ก ยาวไม่เกิน 1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายผายออกเป็นรูปกรวย แล้วแยกเป็นแฉกยาว 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มและติดกันบริเวณปลายกลีบ และจะแยกเป็นอิสระพร้อมๆ กับกลีบจะบิดเบี้ยวเมื่อดอกใกล้โรย ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ รังไข่มี 5 พู มีขนแน่น - ฝัก/ผล    ออกรวมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มย่อยมักมี 2 ผล ก้านช่อยาวถึง 20 ซม. ผลสีแดงหรือสีแสด รูปมนหรือค่อนข้างกลม กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. เปลือกแข็ง มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ เปลือกเป็นคลื่นไปตามรูปเมล็ดที่อยู่ภายใน ปลายผลมักเป็นจะงอยโค้งเล็กน้อย ผลแก่จะแตกออกตามรอยประสานด้านข้าง ก้านผลเห็นไม่ชัด - เมล็ด    สีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ เกาลัดมีฤทธิ์อุ่น  รสหวาน  มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย  บำรุงไต  กล้ามเนื้อ  ม้าม  และกระเพาะอาหาร  บำรุงลม  แก้ร่างกายอ่อนแอ - แก้ไอ  ละลายเสมหะ  แก้อาเจียน  คลื่นไส้  ท้องเดิน - ห้ามเลือด ช่วยการไหล  เวียนเลือด - แก้อาการถ่ายเป็นเลือด  เลือดกำเดาไหล - แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต  และอาเจียนเป็นเลือด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (L.) Jack.
ลักษณะสำคัญ ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร[8] โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่องๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน - ใบแก้ว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบางๆ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุนคล้ายผิวส้มเป็นน้ำมันติดมือ - ดอกแก้ว ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกติดกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี - ผลแก้ว ลักษณะของผลเป็นกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด สีขาวขุ่น เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบมีรสร้อนเผ็ดและขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ) - ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น (ราก) - ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ดอก,ใบ) - ช่วยแก้อาการไอ (ดอก,ใบ) - ราก ก้าน และใบสดสามารถนำมาใช้เป็นยาชาระงับอาการปวดได้ จึงมีการนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟันและปวดกระเพาะ (ราก,ก้าน,ใบสด) บ้างก็ว่าก้านและใบสดมีรสเผ็ดร้อนขม นำมาต้มก็ใช้เป็นยาอมบ้วนปากแก้อาการปวดฟันได้เช่นกัน (ก้านใบ,ใบสด) - รากใช้เป็นยาแก้ฝีฝักบัวที่เต้านม (ราก) - รากใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก) - ใบช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ) - ช่วยแก้บิด (ใบ) - ใบมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ (ใบ) - ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก,ใบ) - ใช้เป็นยาแก้ปวดกระเพาะ ด้วยการใช้ใบแก้วแห้ง, กานพลู, เจตพังคี, และเปลือกอบเชย นำมาบดเป็นผงใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นยาประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หรือจะนำผงที่ได้มาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเทาเม็ดถั่วเหลืองก็ได้ โดยใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (ใบแห้ง) - ใบใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด (ใบ) - ใบใช้เป็นยาขับประจำเดือนหรือระดูของสตรี (ใบ) หรือจะใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม (สดให้ใช้ 30-60 กรัม) นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานหลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (รากแห้ง) - รากและต้นแห้ง นำมาหั่นและต้มเคี่ยวแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้ ช่วยเร่งการคลอดบุตรของสตรี โดยใช้ผ้าพันแผลจุ่มกับน้ำยาสอดเข้าไปที่ปากมดลูก (ราก,ต้นแห้ง) - รากใช้เป็นยาแก้ฝีในมดลูก (ราก) - รากสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผล (รากสด) ใช้เป็นยาแก้แผลคัน (ราก) - ใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นและที่เกิดจากแมลงกัดต่อย (ราก,ก้าน,ใบสด) แก้อาการคันที่ผิวหนัง (ราก) - แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้รากและใบสดนำมาต้มใช้ชะล้างบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย (ราก,ใบสด) แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก) - รากสดมีรสเผ็ดสุขุม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้แผลฟกช้ำได้ (รากสด) แก้ฟกช้ำดำเขียว (ราก) แก้แผลเจ็บปวดที่เกิดจากการกระทบกระแทก (ใบ) - ช่วยแก้ฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบแก้วสด, ขมิ้น, ขิง, และไพร นำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้า แล้วนำไปคั่วให้ร้อน นำผ้าสะอาดห่อ ใช้เป็นยาประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำ ประมาณ 20-30 นาที โดยให้ทำวันละ 2-3 ครั้ง (ใบสด) - รากใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บรรเทาอาการปวดบวม แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก) บ้างว่าใช้รากแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยใช้ตุ๋นกับหางหมูเจือกับสุราใช้กินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยเอว (รากแห้ง) - ก้านและใบสดเมื่อนำมาบดแช่กับแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้ทาหรือฉีดเป็นยาระงับอาการปวดได้ (ก้านใบ,ใบสด)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แก้วมุกดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea racemosa Javanica, Fagraea blumeana
ลักษณะสำคัญ แก้วมุกดาเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย (ลักษณะเดียวกับต้นเฟื่องฟ้าที่เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเหมือนกัน) ถ้าปลูกกลางแจ้งเป็นได้ทั้งไม้พุ่มเตี้ยๆ ประดับสวนหรือเป็นไม้พุ่มสูง 2-3เมตร บังแดด ให้ร่มเงาก็ได้  ทรงพุ่มจะออกทางแผ่กว้างออกด้านข้าง ให้ร่มเงาดี โตช้า (อ้างอิง : พรรณพฤกษา ณ ภูวนาลี, เดือนฉาย คอมันตร์)  เหมาะกับการเป็นต้นไม้บังแดดให้บ้าน อาจจะเลือกปลูกทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้จะช่วยลดความร้อนที่เข้ามาในบ้านได้ แล้วไปเพิ่มกลิ่นหอมๆ ฟุ้งกระจายไปรอบๆ บริเวณที่ปลูก กลิ่นจะหอมแรงขึ้นในช่วงอากาศเย็นหรือหลังจากฝนตกใหม่ๆ - ใบและดอก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท