ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ โพธิศรีมหาโพธิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa Linn
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีน้ำตาล มียางสีขาวใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้โรคหนองใน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พะยอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburgkii G.Don
ลักษณะสำคัญ มีเนื้อไม้แข็ง สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้เป็นยาสมานลำไส้แก้ท้องเดินและลำไส้อักเสบ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albiz lebbeck Benth
ลักษณะสำคัญ ผลัดใบเปลือกนอกขุรขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในเป็นสัแดงเลือดนก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พิกุล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย • ดอกแห้ง - เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ • ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก • เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด • เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก • ใบ - ฆ่าพยาธิ • แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม • กระพี้ - แก้เกลื้อน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โพธิ์ทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thespesia populnea  ( L.) Sol.ex Correa
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 10 – 15 เมตร เปลือกสีน้ำตาล อ่อนอมชมพู ขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆ ตลอดลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร ดอก ใหญ่ สีเหลือง ขนาด 6-10 เซนติเมตร ออกตามง่ามใบ ผล โต ขนาด 4 เซนติเมตร ผิวแข็ง เมล็ด เล็กยาวคล้ายเส้นไหม
สรรพคุณ/ประโยชน์ รากใช้กินเป็นยาบำรุง รักษาอาการไข้ ดอกใช้ต้มกับน้ำนมหยาดหู ใช้สำหรับรักษาอาการเจ็บหู
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พะยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierre
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วดำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบาง ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เปลือกต้นหรือแก่น ผสมแก่นสนสามใบ แก่นแสมสาร และแก่นขี้เหล็ก ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง เปลือกต้นหรือแก่น ผสมลำต้นหวาย ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ตำรายาไทย ราก ใช้รับประทานแก้พิษไข้เซื่องซึม เปลือก ต้มเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย ปากแตกระแหง ยางสด ใช้ทาแก้เท้าเปื่อย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พวงทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thryallis glauca Kuntze
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มชนาดเล็ก แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบดกแน่น ลำต้นและกิ่งก้านสีน้ำตาล แดงอมม่วง - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงตรงช้าม ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอมเหลือง - ดอก (Flower) สีเหลืองเข้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-12 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 เเฉก ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร - ผล (Fruit) ผลแห้งแตก ค่อนข้างกลม มี 3 พู
สรรพคุณ/ประโยชน์ เถา ต้มขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้หวัด ไอ บิด เอ็นขอด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris  (L.) R. Br.
ลักษณะสำคัญ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตรผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ คล้ายร่มเปลืกสีเทาปนดำ - ดอก ดอกสีขาวหรือขาวบมเหลือง ดอกมีกลิ่นฉุนมาก ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบตามปลายกิ่ง ดอก ออก ต.ค -พ.ค - ผล ผลเป็นฝักแห้ง ทรงกระบอก แตกเป็น 2 ซีกเมื่อแก่เมล็ดมีปุยและมีจำนวนมาก ผล ออก ธ.ค - ม.ค
สรรพคุณ/ประโยชน์ 1.ใช้ในการก่อสร้างทำเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน ของเล่นเด็ก มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมาก -2. ใช้เป็นพืชสมุนไพรโดยการนำส่วนต่างๆ ของต้นสัตตบรรณ หรือต้นตีนเป็ดขาว มีสรรพคุณทางยา ดังนี้ เปลือก ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ขับระดู ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับน้ำนม รักษามาเลเลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ไอ เบาหวาน น้ำยางจากต้น ใช้อุดฟัน แก้ปวดฟัน แก้แผลอักเสบ หยอดหูแก้ปวด ใบ ใช้พอกดับพิษต่างๆ ส่วนใบอ่อนใช้ชงดื่ม รักษาโรคลักปิดลักเปิด แก้ไข้หวัด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พะยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierra
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสีขาวหรือเหลืองอ่อนตามง่ามใบและตามปลายกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบางตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม พะยูงเป็นไม้ทนแล้ง มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น กระจายพันธุ์ในป่าภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-250 เมตร นอกจากนี้ ยังมีพบที่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื่องจากเนื้อไม้พะยูงเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ไม้ตะเคียน ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วสีดำ เป็นเสี้ยนสน เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว จึงนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก หวี ไม้เท้า ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด ทำเครื่องประดับ เช่น กำไล ทั้งยังใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกต้มเอาน้ำอมรักษาปากเปื่อย ปากแตกระแหง รากใช้กินรักษาแก้ไข้พิษ เซื่องซึม ยางสดใช้ทาปากรักษาโรคปากเปื่อย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พิลังกาสา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia polycephala  Wall.
ลักษณะสำคัญ ม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม - ดอก ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ - เมล็ด แก้ลมพิษ - ราก แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู - ต้น แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พุดพิชญา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wringhtia antidysenterica R.Br.
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มขนาดเล็ก กิ่งก้านมีสีน้ำตาลแดง - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวใบด้างล่างสีเขียวอ่อน - ดอก (Flower) สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนปนเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรตรงกลางสีเหลือง มีรยางค์เป็นแผ่นรูปแถบเเข็งคล้ายขี้ผึ้ง ปลายแยกเป็นริ้ว 2-5 ริ้ว ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พุดศุภโชค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia antidysenterica R.Br.
ลักษณะสำคัญ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นสูง 1-3 เมตร ผิวลำต้นมีสีขาวเทา แตกกิ่งก้านออกใบรอบต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ตามข้อของกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 8-12 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-6 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีกลิ่นหอมสีขาว กลีบดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ หรือเรียงเป็นชั้นเดียวแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกบานมีความโต 2-5 ซม. ออกผลเป็นฝักรูปกระบอกแหลมโค้ง ภายในมีเมล็ด 3-5 เมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โพธิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa  L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ม. มียางสีขาว - ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ ใบสีเขียวนวลอมเทา ก้านใบเล็กยาว 8-12 ซม. ส่วนยอดอ่อน เป็นสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู - ดอก ดอกสีเหลืองนวล ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกแยกเพศขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล - ผล ผล ผลรวมรูปกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกสีม่วงดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกต้น ทำยาชงหรือยาต้ม แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อน แก้โรคผิวหนัง ผล เป็น ยาระบาย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท