ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ มะหาด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb
ลักษณะสำคัญ ลำต้นตรงผิดเปลือกนอกขรุขระ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ลม แก้เส้นเนพิการ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะตูม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos (L.) Corr
ลักษณะสำคัญ แตกกิ่งต่ำตามลำตัวมีหนามยาว เปลือกสีเทา
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ท้องเสีย โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะเดื่อชุมพร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus racemosa Linn
ลักษณะสำคัญ กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้อาการท้องเสีย อาเจียน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้างใบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ขับเสมหะในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้ไข้ขับเสมหะ แก้หวัดคัดจมูก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โมกมัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia pubescens R. Br.
ลักษณะสำคัญ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย มีรูอากาศมาก เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกด้านในมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวด้านบนมีขนเฉพาะที่เส้นกลางใบหรือมีขนทั่วไป ด้านล่างมีขนที่เส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ถึงมีขนทั่วไป เส้นแขนงใบ ข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบ ยาว 3-4 มม. มีขนสั้นนุ่มประปราย ช่อดอก แบบช่อกระจุกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 3-6 ซม. ดอกสีขาวหรือสีชมพู รูปกรวย ก้านช่อดอกและก้านดอกย่อยมีขนสั้นนุ่มประปรายถึงหนาแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ กว้าง 2-3 มม. ยาว 2.5-5 มม.ปลายมนถึงกลม มีขนสั้นนุ่มประปรายถึงหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอดยาว 4-5 มม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปรี รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 มม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายมน ปลายหลอดกลีบดอกด้านนอก มีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยงถึงมีขนละเอียด กระบังรอบที่ติดตรงข้ามกลีบดอกยาว 3.5-5 มม. ติดแนบเกือบตลอดความยาว ปลายจักซี่ฟัน กระบังรอบที่ติดสลับกับกลีบดอก ยาว 1.5-3 มม. รูปแถบ ปลายแยกเป็น 2 แฉก เกสรเพศผู้ติดบนหลอดกลีบดอก โผล่พ้นปากหลอด อับเรณูรูปหัวลูกศร มีขนสั้นนุ่มที่ด้านนอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ คาร์เพลเชื่อม 2 อัน ผลแบบผลแตกแนวเดียว เป็นฝักคู่เชื่อมติดกัน รูปร่างเกือบตรง ห้อยลง กว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 6.5-30 ซม. ผิวฝักเกลี้ยง ไม่มีรูอากาศ เมล็ดรูปแถบกว้าง 1.5-2.5 มม. ยาว 1.2-1.5 ซม. มีกระจุกขนที่ปลายด้านหนึ่ง กระจุกขน ยาว 2-4 มม. พบตามป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 280 เมตร ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงสิงหาคม ติดผลราวเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย เปลือกต้น รสขมร้อน ฝาดเมา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้โรคไต ฆ่าเชื้อรำมะนาด เชื้อคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด ใบ รสเย็น เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย แก้ตับพิการ แก้ท้องมาน ดอก รสจืด เป็นยาระบาย แก้พรรดึก(ท้องผูก) ผล รสเมา แก้ฟันผุ ฆ่าเชื้อรำมะนาด ราก รสร้อน รักษางูกัด แก้ลมที่เกิดเรื้อรัง เนื้อไม้หรือแก่น รสร้อนขม เป็นยาขับโลหิต กระพี้ บำรุงถุงน้ำดี น้ำยาง รสเมาเบื่อ แก้บิด ใช้แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีใช้ รากและเนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ประเทศจีนใช้สารสกัดจากรากและใบ รักษาวัณโรคแรกเริ่มที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ และอาการปวดข้อจากโรคข้อรูมาติก เปลือกให้เส้นใยใช้ทำกระดาษ และใช้แทนเส้นใยจากฝ้าย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะค่าโมง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Afzelia xylocarpa Craib
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 30 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนคลุมบางๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบมนเว้าตื้นๆตรงกลาง ฐานใบมนหรือตัด ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม รสเบื่อเมา เป็นยาถ่ายพยาธิ และรักษาโรคผิวหนัง หรือต้มเอาไอรมหัวริดสีดวงทวารทำให้แห้ง เปลือกต้น ผสมกับเปลือกต้นมะค่าแต้อย่างละครึ่งกำมือ ใช้เป็นยาประคบ แก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากเจตพังคีอย่าละครึ่งกำมือ เป็นยาสมานแผล เปลือกต้นและราก ใช้รักษาโรคผิวหนัง เมล็ดอ่อน รับประทานสด หรือต้มให้สุก เมล็ดแก่ นำมาคั่ว และกะเทาะเปลือกออกแช่น้ำให้นิ่ม รับประทานได้ มีรสมัน เปลือกให้น้ำฝาด ใช้ฟอกหนัง ลำต้น ใช้รักษาโรคผิวหนัง พยาธิ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะค่าแต้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Teijsm.ex Miq.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-25 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดแผ่ทรงเจดีย์ ต่ำ ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน 3-4 คู่ แผ่นใบย่อยรูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 เซนติเมตรปลายและโคนมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ดอก เล็ก สีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปโล่ กว้าง 4-9 เซนติเมตร ผิวฝักมีหนามแหลมแข็ง เมื่อแก่แตก เมล็ด มี 1-3 เมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกใช้ต้มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า ปุ่มที่เปลือกมีรสเมาเบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พยาธิ ส่วนเมล็ดมีรสเมาเบื่อสุขุมเป็นยาขับพยาธิเชนกัน (ปุ่มเปลือก,เมล็ด)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะกล่ำต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina  L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น  ผลัดใบ  สูง  10 – 20  เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่ม  ยอดอ่อนมีขนนุ่มเป็นมัน  เปลือกต้นเรียบหรือแตกสะเก็ด  สีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลอ่อน  ใบ  ประกอบแบบขนนก  2  ชั้น  เรียงสลับ  มีก้านแขนง  2 – 6 คู่  ก้านแขนงแต่ละก้านมีใบย่อย  7 – 15  คู่  แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนาน  กว้าง  0.6 – 1.5  เซนติเมตร  ยาว  2 – 3.5  เซนติเมตร  ปลายและโคนมน  ดอก  เล็ก  สีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน  ออกเป็นช่อคล้ายหางกระรอก  ผล  เป็นฝักแบนบิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ  กว้าง  1.2  เซนติเมตร  ยาว  12 – 20 เซนติเมตร  เมื่อแก่แตก  เมล็ด  สีแดง  รูปโล่  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  5 – 8 มิลลิเมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ใบ รสฝาดเฝื่อน ต้มกินแก้ปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ แก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมาน บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงและบิด เมล็ดและใบ รสเฝื่อนเมา แก้ริดสีดวงทวาร เมล็ด รสเฝื่อนเมา บดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเม็ด กินแก้จุกเสียด แก้หนองใน เมล็ดบดพอกดับพิษฝี บดเป็นผงโรยแผลฝีหนอง ดับพิษบาดแผล ฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ เมล็ดใน รสเมาเบื่อ บดเป็นผง ปั้นเม็ด กินขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก บดเป็นผงผสมกับยาระบายใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวตืด เนื้อไม้ รสเฝื่อน ฝนกับน้ำทาขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน ราก รสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้ขับเสมหะ แก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง แก้สะอึก แก้ลมในท้อง แก้ร้อนใน แก้อาเจียน ถอนพิษฝี
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น สูง 8-12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้างปลายลู่ลง ใบ เดี่ยว ขนาดเล็ก เรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ ดอก เล็กมาก สีขาวหรือนวล ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ผล กลม อุ้มน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ผล รสเปรี้ยว ฝาด ขมชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้ามและกระเพาะ รับประทาน แก้กระหายน้ำ แก้คอตีบ แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้พิษ แก้หวัด เป็นไข้ตัวร้อน แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เจ็บคอ คอแห้ง และใช้สำหรับผู้ขาดวิตามินซี ผลอ่อน รสเปรี้ยวหวานฝาดขม บำรุงเนื้อหนัง กัดเสมหะ บำรุงเสียง แก้ท้องผูก แก้พยาธิ ผลแก่ รสเปรี้ยวฝาด ขมเผ็ด แก้ไข้เจือลม แก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ ขับปัสสาวะ ระบายท้อง บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต แก้ลม แก้โรคลักปิดลักเปิด มีวิตามินซีสูงกว่าส้มประมาณ 20 เท่า ผลแห้ง ต้มสกัดเอาน้ำมาใช้แก้ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด แก้หวัด ตัวร้อน มีอาการไอ เจ็บคอ และกระหายน้ำ เนื้อผล ใช้ทาบนศีรษะ แก้อาการปวดหัว และแก้วิงเวียนจากอาการไข้ขึ้นสูง แก้สะอึก ขับพยาธิ เนื้อผลแห้ง รสเปรี้ยวฝาดขม เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร แก้บิด ท้องเสีย ใช้ร่วมกับธาตุเหล็กแก้ดีซ่าน ช่วยย่อยอาหาร ยางจากผล รสเปรี้ยวฝาดขม หยอดแก้ตาอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ น้ำคั้นผล ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นยาระบาย แก้เสียดท้อง ขับปัสสาวะ หยอดตา รักษาเยื่อตาอักเสบ เมล็ด แก้โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ราก รสจืดฝาด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อม้าม ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง แก้ปวดกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ ต้มดื่มแก้ไข้ แก้พิษไข้ แก้พิษโลหิต รักษามะเร็งลาม ทำให้เส้นเอ็นยืด ฟอกโลหิต ทำให้อาเจียน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน แก้พิษตะขาบกัด เปลือกราก ห้ามเลือด สมานแผล ใบ รสฝาด ขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ใช้ทาแก้โรคผิวหนังผื่นคัน มีน้ำเหลือง แก้บิดมูกเลือด แก้ฝี แก้ความดันโลหิตสูง ต้มอาบลดไข้ ดอก รสหอมเย็น ใช้ลดไข้ และช่วยเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะนาว ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาเย็นและระบายท้อง เปลือกต้น รสฝาดขม สมานแผล แก้บาดแผลเลือดออก แก้บิด แก้บาดแผลฟกช้ำ แก้ท้องร่วง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะเกลือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปไข่หรือรีเรียงตัวแบบสลับ ปลายใบสอบเข้าหากัน โคนใบกลม หรือมน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หนึ่งช่อมี 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 ซม. โครกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ สีเหลืองเรียนเวียนซ้อนทับกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ ราก - ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะพลับ
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ  ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
สรรพคุณ/ประโยชน์ น้ำจากผล แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ - ผล แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะค่า
ชื่อวิทยาศาสตร์  Afzelia xylocarpa Craib
ลักษณะสำคัญ มะค่าโมงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงถึง 30 เมตร ใบ เป็นใบประกอกบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบย่อยมี 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกมีสีชมพู 1 กลีบ ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งหนามีสีน้ำตาล เมล็ดแข็งสีน้ำตาล มีหมวกสีเหลืองปิดที่ขั้ว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม จะมีรสเบื่อเมา ใช้ในการถ่ายพยาธิและรักษาโรคผิวหนัง หรือต้มเอาไอรมหัวริสีดวง ทวารทำให้แห้ง เปลือกต้น ผสมกับเปลือกต้นมะค่าแต้ อย่างละครึ่งกำมือทำเป็นยาประคบแก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากพังคีอย่างละครึ่งกำมือ เป็นยาสมานแผล เนื้อไม้นำมาแปรรูปใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะม่วงป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera caloneura Kurz.
ลักษณะสำคัญ ไม้ยืนต้น ส่วนของต้นมีน้ำยางข้น ใบเรียงแบบสลับหรือเวียนกัน โดยก้านใบมักพองออกเล็กน้อย ช่อดอกช่อกระจุก (cyme) หรือช่อแยกแขนง (panicle) ออกที่ปลายยอดหรือช่อกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบติดที่ฐาน กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน รสเปรี้ยว
สรรพคุณ/ประโยชน์ มะม่วงป่า ส่วนที่ใช้ในการย้อมสีเส้นไหมคือ เปลือกต้นด้านใน ลอกเอาเฉพาะปลือกต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มแบบน้ำ ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาน้ำสีที่ได้ย้อมเส้นไหม เปลือกสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สีของเส้นไหมที่ผ่านการย้อม ได้สีน้ำตาลอ่อน จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมแช่ในสารละลายช่วยติดสี สารส้ม ได้สีเหลืองอ่อน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะยม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus [L.] Skeels
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม  เปลือกไม้แข็ง  เป็นปุ่มปม  เนื้ออ่อน  ใบเดี่ยวรูปไข่  เรียงสลับกันบนกิ่งเล็กเรียว  ดอกเล็กๆสีชมพู  เป็นช่อเล็กๆ ผลกลมเป็นพูรอบ ออกเป็นพวง เมล็ดเดี่ยวกลมแข็ง ต้นตัวผู้ไม่ติดผล แพทย์นิยมใช้มะยมตัวผู้ทำยา มีทั้งมะยมเปรี้ยวและมะยมหวาน ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบมีรสจืดมัน  ปรุงเป็นยาดับพิษร้อน  ถอนพิษไข้  ต้มรวมกับต้นหมากผู้หมากเมีย - ใบมะยมใช้อาบแก้ผื่นคัน พิษไข้หัว หัด ฝีดาษ - เลือกต้นมีรสจืด ต้มดื่มแก้ไข้เพื่อโลหิต ต้มอาบแก้เม็ด ผด ผื่น คัน - รากมีรสจืด ปรุงเป็นยารับประทาน แก้โรคผิวหนัง ผด ผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย - ลูกมีรสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะฮอกกานี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Swietenia macrophylla  King
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 15 - 25 เมตร  ผลัดใบ  เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก  ทรงพุ่มทึบ  ลำต้นเปลาตรง  เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม  เนื้อละเอียดเหนียว  ลวดลายสวยงาม  เมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้  เนื้อไม้แข็ง  มีคุณภาพดี  สามารถใสกบและตกแต่งได้ง่าย  ยึดตะปูได้ดี  คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก  ทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวก  เมล็ดรสขมมาก - เปลือก สีน้ำตาลอมเทา หนาขรุขระ แตกเป็นร่องตามทางยาวของลำต้น และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ - ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร ยาว 11 - 17 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร - ดอก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.5 - 1.0 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน สีแดง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแผ่แบนคล้ายร่ม - ผล ผลเดี่ยวขนาดใหญ่ กลม รูปไข่ ปลายมนเป็นพูตื้น ๆ สีน้ำตาล เปลือกหนาและแข็ง กว้าง 7 - 12 เซนติเมตร ยาว 10 - 16 เซนติเมตร ก้านผลแข็ง เมื่อแก่แตกออกเป็น 5 พู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก - เมล็ด แห้งสีน้ำตาล แบนบาง มีปีกบาง ๆ กว้าง 1.0-1.2 เซนติเมตร ยาว 5.0-5.5 เซนติเมตร ปลิวไปตามลมได้
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อไม้ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี และเครื่องใช้อื่น ๆ เปลือกต้นต้มเป็นยาเจริญอาหาร  มีแทนนินมาก  รสฝาด  ใช้เป็นยาสมานแผล ยาแก้ไข้  เนื้อในฝักเป็นยาระบาย เนื้อในเมล็ดมีรสขมมาก ใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น  ไข้พิษ และปวดศีรษะ ใบอ่อนและดอกรับประทานได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มังกรคาบแก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum thomsoniae Balf.f.
ลักษณะสำคัญ ไม้เถาเลื้อย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาว โคนเชื่อมติดกันคล้ายถุง ปลายสอบเข้าหากัน กลีบดอก 5 กลีบ สีแดง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแผ่แบน - ถิ่นกำเนิด แอฟริกาตะวันตก - ออกดอก ตลอดปี - การปลูกเลี้ยง ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดปานกลางถึงร่มรำไร น้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มันปลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans
ลักษณะสำคัญ ลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท