ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ หมัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordia cochinchinensis Pierre
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีเทาคล้ำใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium Cumini
ลักษณะสำคัญ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามแผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื้อยคอเปื่อย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เหลืองปรีดิยาธร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabebuia argentea Britt.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร ผลเป็นผลแห้งแตก สีเทา เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หน้าวัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium spp.
ลักษณะสำคัญ หน้าวัวเป็นไม้ค่อนข้างไปทางไม้เลื้อย เนื่ออ่อนการเจริญมีลักษณะเป็นกอต้นจะโตสูงทิ้งใบล่าง สูงได้ 80-100 ซม.ใบมีลักษณะเป็นรูปร่างต่าง ๆกัน แต่ส่วนมากมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ใบของหน้าวัวบางชนิดมีใบสวยงามมาก ลักษณะคล้ายกำมะหยี่ละเอียดเป็นมัน ปลายใบแหลม บริเวณใต้ใบเส้นใบนูนเป็นสันขึ้นมา ต้นหนึ่งมีใบ4-8 ใบ  เมื่อมีใบใหม่จะมีดอกเกิดขึ้นตามมาเสมอ ดอกหน้าวัวเกิดจากตาที่อยู่เหนือก้านใบ โดยทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าจานรองดอกคือตัวดอก ตัวดอกที่แท้จริงนั้นมีขนาดเล็กเรียงกันอยู่บนปลีซึ่งเป็นส่วนของก้านดอก ดอกแต่ละดอกจะมีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย แต่จะบานไม่พร้อมกัน เกสรตัวเมียจะบานก่อน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หมากเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ptychosperma macarthurii Nichols
ลักษณะสำคัญ เป็นพรรณไม้ปาล์มที่ลำต้นผอม  และเป็นข้อปล้องตรง  ลำต้นก็เกิดจากหน่อและสูงประมาณ 10-20  ฟุต มีสีน้ำตาลอมเขียวแต่เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เป็นใบไม้ร่วมเช่นเดียวกับมะพร้าว ลักษณะของใบต้นหมากเขียวนี้เป็นใบขนนก ทางใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยอยู่ประมาณ 40 ใบ และใบย่อยยาว 10 -15 นิ้ว ทางใบยาว 4 ฟุต ตรงโคนก้านทางใบจะเป็นกาบห่อหุ้มเอาไว้ มีเนื้อใบอ่อนและสีเขียวเข้ม ส่วนด้านใต้ใบสีเขียวอ่อน ออกดอกเป็นช่อคล้าย จั่นหมาก ขนาดของดอกเล็กมีสีเหลืองอมเขียว หรือสีขาวนวล ผลเป็นลูกกลมๆเล็ก มีสีเขียวอ่อน แต่พอแก่จะกลายเป็นสีแดง สดผลๆหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในเมล็ดหนึ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัดและจะเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง และทนต่อทุกสภาพสิ่งแวดล้อม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หมากนวล
ชื่อวิทยาศาสตร์  Veitchia merrillii (Becc.) H.E. Moore
ลักษณะสำคัญ เป็นปาล์มต้นเดี่ยว  สูงได้ถึง  15  เมตร  ลำต้นสีน้ำตาล  ใบรูปขนนก  ช่อดอกสีขาวออกใต้คอ  ผลกลม    หมากนวลเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทปาล์มมีทรงพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตรการเจริญเป็นลำต้นเดี่ยวไม่มีหน่อ ลำต้นตรงสูง ผิวลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเป็นใบรวม แตกออกจากทางใบเป็นรูปขนตก เรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบลักษณะใบแคบยาว ขนาดใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 - 60 เซนติเมตรตัวใบมีสีเขียวเรียบเป็นมันทางใบยาวประมาณ 1-2 เมตรลักษณะโค้งเล็กน้อยโคนทางจะเป็นกาบหุ้มลำต้นมีสีเขียวอ่อนปนขาวนวลออกดอกเป็นช่อคล้ายจั่นหมากก้านดอกมีสีขาวนวลลักษณะของดอกมีขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากมีสีขาวอมเหลือง ผลเล็กกลมรีมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่เพียงเมล็ดเดียว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ผล สรรพคุณทางยา ผลของหมากนั้นมีสรรพคุณในการช่วยขับพยาธิได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากนี้แล้วหมากก็ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคมาเลเรีย และมีฤทธิ์ในด้านการเป็นยาที่ช่วยขับปัสสาวะอีกด้วย จากการวิจัยพบว่า หมากมีสารชื่อ อัลคาลอยด์ ที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อราและฆ่าเชื้อไวรัสอีกด้วย - ผล ทาง ตำรับยาแผนโบราณ หากนำเอาเนื้อของผลหมากและเมล็ดฟักทองมาต้มรวมกับน้ำตาลทราย ดื่มพร้อมกันน้ำก็จะช่วยในการขับพยาธิชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี หรือหากจะเอาผลหมากสุกมาต้มกินกับน้ำแล้ว จะช่วยป้องกันอาการของโรคต้อหินหรือความดันภายในลูกตาเพื่อไม่ให้สูงผิดปกติได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หอมเจ็ดชั้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna wallichii (Hook.f.) Ridl.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ชอบปริมาณแสงแดดตลอดวัน ไม่ผลัดใบ ออกดอกในช่วงหน้าหนาว ดอกมีกลิ่นหอม การเจริญเติบโตช้า
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หางกระรอกแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acalypha hispida Burm.f.
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่ม    สูง 1-3 ม. - ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 7-15 ซม. ยาว 15-20 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย ผิวใบมีขน หลังใบสีเขียวอมน้ำตาล ท้องใบสีอ่อนกว่า มีหูใบแบบ - ดอก ดอกช่อสีแดงออกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศเมียห้อยลงคล้ายหางกระรอก ยาว 15-20 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก ไม่มีกลีบดอก มีแต่รังไข่และยอดเกสรเพศเมียที่เป็นพู่ห้อยลง - ผล ผลขนาดเล็ก เมื่อแก่แตกได้
สรรพคุณ/ประโยชน์ ราก แก้พิษงูกัด เปลือก ขับเสมหะ แก้หืด ใบ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท