ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ เคี่ยม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium melanoxylon Pierre
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมน หลังใบเรียบมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีขนนุ่มปีกขาว 1 คู่
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกใช้เป็นยาชะล้างแผล ห้ามเลือดแผลสดชันเป็นยาสมานแผล
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คริสติน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium australe ( J.C. Wendl.ex Link) B.Hyland
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่  สูง 2-5 เมตร  ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน  ใบเดี่ยว  ออกตรงข้าม  รูปใบหอก  ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบสอบ  กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม  ใบอ่อนสีแดงเป็นมัน  ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายยอด  ดอกสีขาว  ออกดอกในเดือนมกราคมถึงมีนาคม  รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ  เกสรตัวผู้จำนวนมาก  ผลยาวรีสีแดงคล้ายชมพู่  ยาว 2 เซนติเมตร สภาพปลูก เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกเป็นกลุ่ม  แต่ควรตัดแต่งทรงพุ่มบ่อยๆ เพื่อให้ต้นแตกยอดอ่อนสีแดง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คำมอกหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia sootepensis Hutch
ลักษณะสำคัญ ต้นคำมอกหลวง หรือ ต้นคำมองช้าง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่ดอยสุเทพ สามารถพบได้ตั้งแต่พม่า ไทยและลาว ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก ลำต้นมีความสูงของต้นประมาณ 7-15 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมและโปร่ง เรือนยอดโปร่ง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งน้อย (บ้างว่าแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง) กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีครีมอ่อนหรือสีเทาถึงสีเทาเข้ม แตกเป็นสะเก็ด หลุดออกมาเป็นแผ่นบางๆ และมียางเหนียวสีเหลืองข้นเป็นก้อนที่ปลายยอด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพะเมล็ด เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ และตามป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-400 เมตร - ใบคำมอกหลวง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก โดยออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือเป็นรูปไข่กลีบ ปลายใบแหลมหรือมนมีหางสั้นๆ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-28 เซนติเมตร โดยใบอ่อนจะเป็นสีชมพูอ่อนถึงสีแดง มีขนสีเงิน ส่วนใบแก่หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีขนละเอียด แผ่นใบหนาแข็งและกรอบ มีเส้นใบข้างประมาณ 16-20 คู่ มีลักษณะตรงและขนานกันและโค้งมาจรดกันที่ขอบใบ มองเห็นเส้นแขนงใบได้ชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีหูใบเป็นปลอกรอบกิ่ง โดยหูใบจะอยู่ระหว่างก้านใบ และหลุดร่วงได้ง่ายและจะทิ้งรอยแผลกลมเป็นตุ่มตารูปกรวยกว้างไว้ และที่ยอดอ่อนจะมีน้ำยางคล้ายขี้ผึ้งสีเหลืองหุ้มไว้อยู่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน - ดอกคำมอกหลวง ออกดอกเดี่ยว โดยจะออกดอกที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองเข้ม มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดกลีบดอกมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบ ปลายแยกเป็น 5 พู และแผ่ออก ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร บิดเป็นเกลียว ในดอกตูมก้านดอกจะมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอกจะเป็นสีขาวนวลเมื่อแรกบาน แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดภายหลัง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่มีก้านชู เรียงสลับกับกลีบดอกบนปากหลอด และโผล่พ้นปากหลอดกลีบดอกออกมาเพียงเล็กน้อย ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน ที่ปลายของเกสรจะมีลักษณะคล้ายกระบอง ก้านเกสรเพศเมียจะยาวโผล่พ้นปาดหลอดของกลีบดอก ส่วนอับเรณูมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน รังไข่จะอยู่ใต้วงกลีบมี 1 ช่อง และมีออวุลจำนวนมาก ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอดขนาดยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 2 แฉก ปลายเป็นพูเล็กๆ ด้านหนึ่งแยกลึก ส่วนด้านนอกมีขนละเอียดเหนียวๆ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม - ผลคำมอกหลวง ผลเป็นผลสดมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี รูปไข่ รูปกระสวยแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปขอบขนาน ผลมีติ่งที่ปลายและสันตื้นๆ ประมาณ 5-6 สัน ผลเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ที่ผิวมีปุ่มหูดกับช่องอากาศ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.8-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.2-4 เซนติเมตร ภายในผลมีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก โดยจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก่นนำไปใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (แก่น) - เนื้อไม้ใช้เข้ายากับโมกเตี้ยและสามพันเตี้ย ใช้ต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้บิด และถ่ายเป็นมูกเลือด (เนื้อไม้) - แก่นคำมอกหลวง ใช้ผสมกับแก่นมะพอก นำมาต้มรวมกันให้หญิงอยู่ไฟใช้อาบและสระผม (แก่น) - เมล็ดคำมอกหลวงนำมาต้มเคี่ยวกับน้ำใช้ผสมเป็นยาฆ่าเหา (เมล็ด)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คุณนายตื่นสาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Portulace grandiflora
ลักษณะสำคัญ ไม้ดอกในสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มต้นเตี้ย การเจริญเติบโตค่อนไปทางเลื้อย ใบมีลักษณะอวบน้ำเป็นแท่งรูปเข็มยาวประมาณ 1 นิ้ว สีเขียวอ่อนเป็นมัน ออกดอกและบานพร้อม ๆ กัน ดอกจะมีขนาดประมาณ 1-2.5 นิ้ว แล้วแต่พันธุ์ กลีบดอกบางมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนหลายสี เช่น สี ม่วงอ่อน บานเย็น ส้ม แดง ขาว เหลือง ชมพู
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คูณชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula x Cassia bakeriana หรือ Cassia fistula x Cassia javanica
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มขนาดกลาง  เมื่ออยู่กลางแจ้งจะมีทรงพุ่มกลมโปร่ง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แคนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stereospermum serrulatua DC
ลักษณะสำคัญ ต้นแคนา หรือ ต้นแคป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของลำต้นได้ถึง 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทา และอาจมีจุดดำประ ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็กๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำราก โดยสามารถพบต้นแคนาได้ตามป่า ตามทุ่ง ตามไร่น่า และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป - ใบแคนา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันประมาณ 3-5 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นแบบซี่ฟันตื้นๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่ประปรายบนก้านใบ ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร - ดอกแคนา ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรสีขาว โดยจะออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-10 ดอก กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กและโค้งยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร หุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจะมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอกติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร ส่วนหลอดกลีบดอกจะยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร ส่วนโคนจะแคบเป็นหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนจะบานออกคล้ายกรวยเป็นสีขาวแกมสีขมพู แฉกกลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ที่ขอบกลีบจะย่นเป็นคลื่นๆ ดอกเป็นสีขาว ดอกตูมเป็นสีเขียวอ่อนๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน ติดอยู่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยก มีขนาดสั้น 2 อัน และยาว 2 อัน และยังมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันอีก 1 อัน มีรูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายเส้นด้ายมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีเทาดำ และจานฐานดอกเป็นรูปเบาะ เป็นพูตื้นๆ และมีเกสรตัวเมียอยู่ 1 อัน โดยดอกแคนาจะค่อยๆ บานทีละดอก ดอกมีกลิ่นหอม ดอกบานในตอนกลางคืน และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน - ผลแคนา ผลเป็นฝัก ออกฝักช่อละประมาณ 3-4 ฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ฝักมีความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร ส่วนเมล็ดเป็นรูปสีเหลี่ยม ยาวประมาณ 2.2-2.8 เซนติเมตร รวมปีกบางใส
สรรพคุณ/ประโยชน์ รากมีรสเย็น สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต (ราก) - แคนา สรรพคุณของเมล็ดใช้เป็นยาแก้อาการปวดประสาท (เมล็ด) - ช่วยในการนอนหลับ (ดอก) - ช่วยแก้โรคชัก (เมล็ด) - ช่วยแก้ไข้ลมหัวได้เช่นเดียวกับดอกแคบ้าน (ดอก) - ใบนำมาต้มกับน้ำเป็นยาบ้วนปาก (ใบ) - ดอกมีรสหวานเย็น ใช้เป็นยาขับเสมหะ โลหิต และลม (ดอก) - ช่วยแก้แก้เสมหะและลม (ราก) - ใช้ต้มรับประทานแก้อาการท้องร่วง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร (เปลือกต้น) - ช่วยขับผายลม (ดอก) - ช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น (ดอก) - ช่วยแก้พยาธิ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ช่วยแก้ริดสีดวงงอก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ช่วยแก้อาการตกเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ใบใช้ตำพอกรักษาแผล (ใบ) - ช่วยแก้ฝีราก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ใช้เป็นยาแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท