ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ สีเสียดแก่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu Willd
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดโปร่งลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไป
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้โรคท้องร่วง บิด แก้อ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เสลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดกลมทึบ กิ่งห้อยลง ใบเป็นใบเดี่ยว
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สาธร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia leucantha Kurz
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สุพรรณิการ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum
ลักษณะสำคัญ เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาบำรุงกำลัง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สารภี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis
ลักษณะสำคัญ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบมียางสีขาว ใบเป็นใบเดียวเรียงตรงข้าม
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาแก้ร้อนใน บำรุงปอด บำรุงหัวใจ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โสกเหลือง (ศรียะลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Saraca thaipingensis Cantley ex King
ลักษณะสำคัญ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลม
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สารภีทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calophyllum inophyllum L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น สูง 8-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ไม่เป็นระเบียบ ลำต้นค่อนข้างสั้น และมักบิดแตกเป็นกิ่งใหญ่ๆ จำนวนมากทั้งในแนวตั้งและแนวนอน หรือห้อยลง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา หรือค่อนข้างดำ ลำต้นแก่จะแตกเป็นร่อง ภายในมีน้ำยางมากสีเหลืองใส แก่นไม้สีน้ำตาลอมแดง ตายอดเป็นรูปกรวยคว่ำ มีขนสีน้ำตาลปนแดงประปราย ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีถึงไข่กลับ กว้าง 4.5-8 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายใบมนกว้าง และมักหยักเว้าตรงกลางเล็กน้อย โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา เกลี้ยง หลังใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า เส้นใบมองเห็นไม่ชัดเจน มีเส้นใบถี่มาก และขนานกัน ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และปลายกิ่ง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ยาว 2.7-10 มิลลิเมตร ชั้นนอกรูปร่างกลม ค่อนข้างหนา เกลี้ยง ชั้นในรูปไข่กลับ คล้ายกลีบดอก กลีบดอกมี 4 กลีบ กว้าง 7-8 มิลลิเมตร ยาว 9-12 มิลลิเมตร รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน ขอบงอ เกสรเพศผู้สีเหลืองมีจำนวนมาก รังไข่ค่อนข้างกลม สีชมพู ก้านเกสรเพศเมียยาว ผล ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งแหลม ผิวเรียบ สีเขียว เปลือกค่อนข้างหนา ผลสดสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม เมล็ดเดี่ยว มักขึ้นตามป่าใกล้ชายทะเล ป่าดงดิบ พบมากทางภาคใต้
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ใช้ ดอก รสหอมเย็น เข้ายาบำรุงหัวใจ ปรุงยาหอม ราก เป็นยาใช้ล้างแผล เปลือกต้น ทำยาต้มเป็นยาขับปัสสาวะในโรคหนองใน ทาภายนอกแก้บวม ต้นและเปลือกต้น ให้ยางใช้สำหรับทาแผล เป็นยาฝาดสมานพอกทรวงอกแก้วัณโรคปอด กินจะทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย ใช้แต่งกลิ่น ขับปัสสาวะ ใช้ภายนอกสำหรับล้างแผลอักเสบเรื้อรัง ใบ รสเมาเย็น แก้ตาแดง ตาฝ้า ตามัว ใบใช้เบื่อปลา ถ้านำมาแช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืนจะได้น้ำที่มีสีน้ำเงิน น้ำคั้นจากใบเป็นยาฝาดสมานภายนอกใช้กับโรคริดสีดวงทวาร เมล็ด ให้น้ำมันและยางอยู่รวมกัน แยกน้ำมันออกมาใช้ทาถูนวดแก้ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก บวม สมานแผล แก้ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง แก้เหา แก้หิด กลาก น้ำมันจากเมล็ดทำให้บริสุทธิ์ กินแก้โรคหนองใน ทั้งต้น รสเมา ใช้เบื่อปลา
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สนสามใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pinus kesiya Royle ex Gordon
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนล่อนเป็นสะเก็ด มียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกันเป็นกลุ่มละ 3 ใบ ออกเป็นกระจุกเวียนสลับถี่ตามปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผลออกรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยาง กลั่นเป็น้ำมัน และชันน้ำมันใช้ผสมยาถูนวด แก้ปวดเมื้อยชันผสมยารักษาโรค แก่น ต้มน้ำดื่ม รักษาฌรคทางเดินปัสสาวะ แก้เหงือกบวมแก้บิดท้องร่วง ปวดท้อง ผสมสมุนไพรอื่น ต้มอบไอน้ำ ช่วยบำรังกำลัง สำหรับคนติดฝิ่น
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สะเดาเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือก ต้มทำยาแก้บิด หรือท้องร่วง ดอกอ่อนนำมารับประทานเป็นผักได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris
ลักษณะสำคัญ สัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อๆ ละ 6-9 ใบ รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายทู่กลม หรือเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว แกมเหลือง ผลเป็นฝักออกเป็นคู่ รูปกลมยาว
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกต้น ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้ การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis Linn.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 50 เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อน ส่วนที่ยังอ่อนมีขน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็กๆ สีแดง ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยงขยายตัวหุ้มผลไว้ด้านใน
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สิรินธรวัลลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ส้านชะวา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dillenia suffruticosa (Griff.) Martelli
ลักษณะสำคัญ ส้านชะวาเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง ๑๐ เมตร เปลือกสีม่วงดำ ใบ ใบเดี่ยวออกสลับ รูปรีจนถึงรูปไข่กว้าง 8 - 15 เซนติเมตร ยาว 15 -30 เซนติเมตร ปลายกลม หรือมน โคนมน มีครีบและยกตั้งดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ยอด 4 - 5 ดอก บางครั้งมีถึง 18 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปช้อนเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผล รูปกลม แป้น กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีส้มหรือแดง แตกเป็น 6 แฉก เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศบรูไนดาลุสซาลาม มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศมาเลเซีย
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สารภี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis Kosterm.
ลักษณะสำคัญ สารภีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 – 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกสีเทาปนดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลแดง มียางขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง - ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน เรียงตามข้าม ขนาดกว้าง 4 – 6.5 ซม. ยาว 14 – 20 ซม. เนื้อใบหนา ปลายมนกว้าง ๆ บางทีอาจมีติ่งสั้น ๆ หรือหยักเว้าตื้น ๆ โคนใบสอบเรียว เส้นแขนงใบไม่ปรากฏแต่เห็นเส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน - ดอก สีขาว ออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกตามกิ่ง กลิ่นหอมมาก กลีบรองกลีบดอกมี 2 กลีบ กลีบบนเป็นกระพุ้ง โคนกลีบเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีลักษณะเดียวกันแต่มี 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีมาก รังไข่มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน จำนวน 2 ปลาย หลอดรังไข่แยกเป็น 3 แฉก ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน - ผล เป็นรูปกระสวย ยาวประมาณ 2 – 5 ซม. กลีบรองกลีบดอก….เป็นกาบหุ้มที่ขั้วผล - ลักษณะเนื้อไม้ สีน้ำตาลปนแดง เสี้ยนตรง ถี่และสม่ำเสมอ เนื้อละเอียด แข็ง ค่อนข้างทนทาน เลื่อย ผ่า ไส้กบ ตบแต่งง่าย ความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.91
สรรพคุณ/ประโยชน์ การนำไม้สารภีมาใช้ประโยชน์ยังมีน้อยและค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางด้านการแพทย์ ประโยชน์ที่สำคัญของไม้ชนิดนี้ได้แก่ เนื้อไม้ ใช้ทำเสากระดานพื้น ฝา รอด ตง ฯลฯ ดอก ปรุงเป็นยาหอมสำหรับแก้ร้อนใน ชูกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท แก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย ผล มีรสหวานรับประทานได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สาละ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นชนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา - ดอก (Flower) สีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร - ผล (Fruit) ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกเเข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็น มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่
สรรพคุณ/ประโยชน์ สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สำโรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia foetida L.
ลักษณะสำคัญ ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นกลมตรง ใบประกอบรูปนิ้วมือ มีใบย่อยรูปหอก 5 ใบ ดอกออกเป็นช่อโต มีกลิ่นเหม็น ผลเป็นฝักแบนโต เมล็ดแข็งสีน้ำตาลดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกฝัก ปรุงเป็นยาเนาวหอย แก้โรคไตพิการ แก้ลำไส้พิการ แก้ปัสสาวะพิการ เปลือกต้น กล่อมเสมหะและอาจม แก้บิด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สิบสองปันนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix roebelenii O'Brien
ลักษณะสำคัญ  สิบสองปันนาเป็นปาล์มในตระกูลอินทผาลัม  เชื่อกันว่าสิบสองปันนาต้นเดิมที่เป็นปาล์มนั้น  เป็นต้นอินทผาลัมที่ไม่มีหน่อ  สิบสองปันนาเป็นปาล์มที่มีลำต้นเดี่ยวโดดๆ สูงประมาณ 1.8 เมตร ใบเป็นใบแบบขนนก ทางใบยาว 1 ฟุต ถึง 1.5 ฟุต โค้งงอลงด้านล่าง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนใต้ใบจะมีสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายกันแป้งเคลื่อนที่อยู่
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท