ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ ชานาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalium tomentosum Benth
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพ่มทึบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้กษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ช้างน้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dchna integerrima (Lour) Merr
ลักษณะสำคัญ ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาแข็งและแหลม ใบเป็นใบเดียวออกสลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้ขับพยาธิ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ผิดสำแดง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชะจาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นสูง 25 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีขาวมองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีป้อม โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือก ใช้ทำยารักษาเรื้อนของสุนัข กับตัวไรและเป็นยาแก้ปวดตามข้อ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชิงขัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงโลหิต
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชัยพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น    สูงถึง 15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ทรงพุ่มใบกลมคล้ายร่ม เมื่อต้นยังอ่อนมีหนาม ใบประกอบรูปขนนกปลายคู่   เรียงสลับ มีใบย่อย 5 - 15 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลม ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียด - ดอก    เริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ใกล้โรยดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่งยาว 5 - 16 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักกลมสีดำ ยาว 20 - 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ไม่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาระบายอ่อนๆ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชงโค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia glauca Wall. ex Benth
ลักษณะสำคัญ ชงโคเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายๆกับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่วกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความของฝัก โดยเป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษาถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน - ลักษณะของดอกชงโค ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยจะออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 6-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะมีสีชมพูถึงสีม่วงแดง ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกกล้วยไม้ เมื่อบานเต็มที่ดอกชงโคจะกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ตรงกลางของดอกจะมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้าโค้งขึ้นด้านบน และมีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้น ยาวกว่าเกสรตัวผู้
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบชงโคนำไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ) - ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี (ดอก) - ชงโคสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก,ราก) - ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น) - ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น) - ช่วยแก้บิด (ดอก,แก่น,เปลือกต้น) - ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก) - ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ) - ใบชงโคใช้พอกฝี และแผลได้ (ใบ) - ประโยชน์ของชงโค มักปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมชื่นใจ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชมพูพันธ์ทิพย์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabebuia rosea (Bertol.) DC
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้นๆ เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย -  ใบ (Foliage) :  ใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร   ปลายใบแหลม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสียตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืนและเยื่อใช้ทำกระดาษได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชะพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum  Roxb.
ลักษณะสำคัญ ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ  ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูปทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก  ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ผล  -  เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด - ราก ต้น ดอก ใบ – ขับเสมหะ - ราก - แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด - ทั้งต้น แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ / รักษาโรคเบาหวาน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชะมวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb
ลักษณะสำคัญ ใบ ชะมวงจากต้นชะมวง หรือที่ทางปักษ์ใต้เราเรียกว่า ต้นส้มมวง ถือเป็นไม้ไทยใกล้มือที่คนท้องถิ่นแถบภาคตะวันออกแถวเมืองจันทร์ไปจนถึงตราด และแถวปักษ์ใต้บ้านเรา นิยมเก็บยอดและใบอ่อนมาปรุงอาหารประเภทต้มส้ม แกงส้ม โดยต้มกับกระดูกหมู กระดูกวัว หรือซี่โครงหมู ที่เรียกกันว่า ซี่โครงหมูต้มใบชะมวง สำหรับที่เป็นอาหารขึ้นโต๊ะในเมนูอาหารรสเด็ดที่รู้จักกันดีก็คือ แกงกะทิใบชะมวง ทั้งนี้ก็เพราะจะได้ รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยว แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิต แก้ไอ แก้กระหายน้ำ - ราก ใช้แก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษ แก้บิด ลดเสมหะ - ใบ ใช้เป็นยาระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอก กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิต แก้ไอ แก้กระหายน้ำ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท