ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ ประดู่ปา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ พอกฝีให้สุกเร็ว พอกบาดแผล แก้ผดผื่นคัน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปีป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn.F.
ลักษณะสำคัญ เปลือกขรุชระสีเทาตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงปอด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ประดู่บ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีน้ำตามเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ท้องเสีย แก้เสมหะ แก้โรคคุทรด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cycas cirinalis L.
ลักษณะสำคัญ ต้น เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน - ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับหนาแน่นช่วงยอดหรือปลายกิ่ง ใบย่อยด้านล่างมักลดรูปเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบ หนา จำนวนมาก เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบย่อย มีเกล็ดหุ้มยอด (cataphyll) - ดอก แยกเพศต่างต้น ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophyll) จำนวนมาก รูปลิ่ม ปลายมักแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอับเมกาสปอร์ (megasporophyll) ของเพศเมีย เรียงเป็นกลุ่มคล้ายใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (rosette) ไม่เป็นรูปโคน แต่ละสปอร์โรฟิลมีก้าน ปลายก้านเป็นแฉกแบบขนนกรองรับออวุล ออวุลมี 1-5 เม็ด - เมล็ด ทรงกลมหรือรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนาด้านนอก ด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ ลักษณะคล้ายผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ใบเลี้ยง 2 ใบ ติดกันที่โคน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ดอกมีรสเผ็ด  บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์  แก้ลมดีและเสมหะพิการ  บำรุงธาตุ  หัว  นำมาฝนปรุงกับสุรา  แก้ฟกบวม  รักษาแผลเรื้อรัง  แก้แผลกาย  ใช้เป็นยาสมานแผลได้ดีมาก ปรงนี้  นำมาทำเป็นยา  ใช้ทาแผลที่อักเสบ  หรือใช้ดูดหนองฝีและดับพิษ  ชาวป่าทางภาคเหนือนิยมใช้กันมาก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Palmae หรือ Arecacae
ลักษณะสำคัญ ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด กล่าวคือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่ไม่ได้มีลำต้นสูงพ้นดิน แต่ก็มีลักษณะใบแบบปาล์ม ทำให้สังเกตได้ไม่ยากนัก ทยาย - ลำต้น ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กัน จึงปรากฏเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองแล้ว ยังมีลำต้นที่แตกกิ่ง เช่น ปาล์มกิ่ง (Hyphaene thebaica) นับว่ามีลักษณะที่โดดเด่นจากปาล์มชนิดอื่นๆ มากทีเดียว ส่วนปาล์มที่มีขนาดเล็กจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ระกำ หรือลำต้นทอดไปตามพื้นดิน เช่น จาก และลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้แก่ หวายทุกชนิด ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ ข้อหรือวงแหวนรอบลำต้นนั้น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของปาล์มทีเดียว ซึ่งเกิดจากการร่วงหลุดของก้านใบนั่นเอง บางชนิดเมื่อร่วงแล้วลำต้นเกลี้ยง บางชนิดแม้ใบจะเหี่ยว แต่ก้านใบก็ไม่หลุดเสียเลยทีเดียว ปาล์มบางสกุลมีลำต้นที่อ้วนป่องตรงกลาง (ปาล์มขวด,ปาล์มแชมเปญ) มีการสะสมน้ำไว้ในลำต้นขณะที่ปาล์มขนาดเล็กบางชนิดมีรกพันที่ลำต้น (จั๋ง, เคราฤๅษี) - ใบ ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะในของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัด หรือฝ่ามือ ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) กล่าวกันว่า ชื่อของปาล์ม (palm) ก็มาจากลักษณะที่คล้ายกับฝ่ามือ (palm) นั่นเอง ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไป ติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น - ผล ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็กมาก เช่น หวาย จนถึงขนาดปานกลาง เช่น หมาก อินทผลัม และขนาดใหญ่ อย่างมะพร้าว หรือมะพร้าวแฝด ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี ก็คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก (ใช้เคี้ยว) ปาล์มที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด คือมะพร้าวแฝด (Lodoicea maldivica) - ดอก จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่นหอม ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็ก และแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออก จะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปึก และน้ำตาลเมาได้
สรรพคุณ/ประโยชน์ 1. อาหารจากปาล์ม ในการประกอบอาหารส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันที่ผลิตจากผลของปาล์ม มะพร้าวให้กะทิ และน้ำมัน น้ำตาลจากมะพร้าว ตาลจากอินทผลัม แป้งจากสาคู และลูกชิด ฯลฯ - 2. ที่อยู่อาศัย โดยใช้ส่วนต่างๆ ของปาล์มมาเป็นที่อยู่อาศัยก่อนพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น การนำใบจากมามุ้งหลังคา ต้นมาหมาก ต้นเหลา ซะโอนใช้ทำเสาบ้านเรือน ต้นมะพร้าวทำพื้น และฝาบ้าน นอกจากนี้ยังใช้หวายผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ - 3. เครื่องนุ่งห่ม ปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่ม ผลของปาล์มนำมาเป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสง ปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้เช่นกัน - 4. ยารักษาโรค ปาล์มหลายชนิดสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้อาจจะใช้ในรูปที่สกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมัน ยาไทยโบราณหลายชนิดใช้หลากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก แก้ร้อนใน เนื้อในของหมากใช้สมานแผล แก้ท้องร่วง ใบหมากแก้ไข น้ำมะพร้าวเป็นยาบำรุงครรภ์และใช้ถอนพิษเบื่อเมา น้ำมันมะพร้าวผสมและปรุงยาและน้ำมันนวดแก้ฟกซ้ำ รักษาบาดแผลและฝี แขนงช่อดอกของตางตัวผู้หรือเรียกว่าวงศ์ตาล ใช้ปรุงเป็นยาแก้ตาลขโมย เป็นต้น - 5. การใช้ปาลืมเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ นั้น เนื่องจำปาล์มมีลักษณะให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมตามความรู้สึกของผู้ใช้และผู้พบเห็น มีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่ เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อย รูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสัน จึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือ ขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม ซึ่งมักจะมีต้นปาล์ม เข้าไปเป็นส่วนประกอบที่เพิ่มความงดงามอยู่เสมอ นอกจากนั้นปาล์มยังสามรถนำมาปลูกในกระถางแล้วนำไปวางประดับภายในอาคารใช้เป็นไม้ในร่มได้เป็นอย่างดี มีลีลาที่สวยงามไม่แพ้ไม้ประดับในร่มชนิดอื่น ๆ เช่นกัน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์มขวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Roystonea regia (H.B.K.) Cook
ลักษณะสำคัญ ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นคอดใกล้โคนและป่องกลาง ลำต้นขนาด 50 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่สีเทา เห็นข้อปล้องชัดเจน คอสีเขียวเข้มและยาวถึง 1 เมตร - ใบ (Foliage) ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานกว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา แตกออก 2 ทิศทางห้อยโค้งลงจึงเห็นเป็นพวงใหญ่ โคนกาบใบสีเขียวห่อลำต้นไว้ ก้านใบย่อยเป็นสันคม - ดอก (Flower) สีขาวครีมเป็นมัน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร - ผล (Fruit) ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกระบอกค่อนข้างป้อม ปลายแคบแหลม ขนาด 0.8-1.3 เซนติเมตร ผลแก่สีน้ำตาลอมม่วง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยอดอ่อนรับประทานได้คล้ายยอดมะพร้าว ผลใช้เลี้ยงหมู
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์มพัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pritchardia pacifica Seem. & H. Wendl. 
ลักษณะสำคัญ ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 20-30 เซนติเมตร - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยวรูปพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวอ่อน ขอบใบจักเว้าตื้นตาม รอยจีบ ก้านใบสีเขียวยาว 1 เมตร ไม่มีหนามแต่โคนกาบใบมีเส้นใยสีน้ำตาลคลุม - ดอก (Flower) สีเหลืองปนน้ำตาล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 0.9 เมตร - ผล (Fruit) ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลม ขนาดประมาณ 1.2 เซนติเมตร ผลแก่สีดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ อาหาร น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารในปัจจุบันสกัดจากปาล์มน้ำมันเป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้คนไทยบริโภคน้ำมันจากมะพร้าวในรูปของกะทิ น้ำตาลจากมะพร้าว ตาล จาก อินทผลัม ต้นสาคู เเละชิด เป็นต้น - ที่อยู่อาศัย มนุษย์ได้เริ่มใช้ปาล์มมาทำเป็นที่อยู่อาศัยก่อนไม้ชนิดอื่น ๆ จะเห็นจากการใช้ใบจากมุงหลังคา ต้นหมาก ต้นเหลา ชะโอนทำเสาบ้าน พื้นบ้านและฝาบ้าน หวายใช้ผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ - เครื่องนุ่งห่ม ปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่ม ผลปาล์มบางชนิดใช้เป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสง ปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้ - ยารักษาโรค ปาล์มหลายชนิดสามารถใช้รักษาโรคได้ อาจจะได้ในรูปสกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมัน ยาไทยโบราณหลายชนิดใช้รากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก รากมะพร้าว รากตาล - ปาล์มยังเป็นที่นิยมในการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ มีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่ เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อย รูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสัน จึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์มแวกซ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Copernicia prunifera (Mill.) H.E. Moore.
ลักษณะสำคัญ ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 10-40 ซม. ลำต้นมีกาบใบติดแน่น - ใบ (Foliage) ใบรูปพัด แผ่นใบกลม แผ่กว้าง 1 เมตร หนาและเเข็ง แผ่นใบด้านบนและด้านล่างสีเขียวมีนวล ขาวเด่นชัด แตกใบย่อยจักเว้าลึกเกือบถึงสะดือ ก้านใบยาว 1 เมตร และมีหนามตรงขอบ - ดอก (Flower) ออกเป็นช่อที่ซอกกาบใบ ช่อดอกชูตั้งขึ้น ยาวถึง 2 เมตร ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน - ผล (Fruit) ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรี ขนาด 1.5 ซม. ผิวเรียบเกลี้ยง มี 1 เมล็ดต่อผล
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปีบทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 6 - 20 เมตร เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นเปลาตรง - เปลือก สีน้ำตาล เทา หรือน้ำตาลเข้ม - ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกตรงข้ามกัน ใบย่อย 2 – 5 คู่ แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอกถึง รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2 - 5 ซม. ยาว 5 - 12 ซม. ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนสอบแหลม ขอบใบเรียบ - ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5 - 10 ดอก ทะยอยบาน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4 - 7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26 - 40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก - เมล็ด แบนมีปีก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท