ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ นนทรีป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum dasyrachis Kurz,ex Baker
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดป็นรูปพุ่มกลมทึบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกมีรสฝาด รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ นนทรีบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.)Backer ex K.Heyne
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆกิ่งหรือก้านอ่อนจะมีสีขนสีน้ำตาลแดงเรือนยอดรูปร่ม
สรรพคุณ/ประโยชน์ รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ นนทรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K.Heyne
ลักษณะสำคัญ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยจนไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลายๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด - ใบนนทรี ใบออกเป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร มีใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 9-13 คู่ แขนงบ่อยคู่ต้นๆ จะสั้นกว่าคู่ถัดไป และคู่ที่อยู่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรหลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อน - ดอกนนทรี ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งขึ้น โดยจะออกตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง มีกิ่งแขนงในช่อดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะบางและค่อนข้างยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย ดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบวางเกยทับกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน โดยทั่วไปจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และออกดอกทั้งต้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แต่อาจขยายเวลาได้ตามลักษณะของดินฟ้าอากาศในแต่ละปี และลักษณะของพันธุกรรมของต้นนนทรีแต่ละต้น - ผลนนทรี เนื่องจากต้นนนทรีเป็นพืชในตระกูลถั่ว จึงออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบนเป็นรูปหอก ปลายฝักและโคนฝักเรียวแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ฝักสดเป็นสีเขียวพอแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดวางตัวเรียงขวางกับฝัก ประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีความแข็งแรงมีรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกต้นมีรสฝาดร้อน ใช้เป็นยากล่อมเสมหะและโลหิต (เปลือกต้น) - ช่วยปิดธาตุ (เปลือกต้น) - เปลือกต้นใช้เป็นยาขับผายลม (เปลือกต้น) - เปลือกต้นมีสารแทนนินสูง จึงช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสียได้ (เปลือกต้น)ด้วยการนำเปลือกต้นมาเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วเอาน้ำมากิน (เปลือกต้น) - ช่วยแก้บิด (เปลือกต้น) - เปลือกต้นใช้เป็นยาขับโลหิต ขับประจำเดือนของของสตรี (เปลือกต้น) - ใช้เป็นยาสมานแผลสด (เปลือกต้น) - ยอดใช้เป็นยาทาแก้โรคเจ็ด (โรคผิวหนังชิดหนึ่ง) โดยใช้ยอด 1กำมือ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับไข่ขาว (ไข่เป็ด) ใช้ทาบริเวณที่เป็น แล้วใช้ผ้าพันทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วค่อยลอกออก (ยอด) - เปลือกต้นนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมันเป็นยานวดแก้ตะคริว แก้กล้ามเนื้ออักเสบ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ นารีรำพึง/รำเพย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thevetia peruviana
ลักษณะสำคัญ ต้น  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น - ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น - ดอก  สีเหลือง ส้มและขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง  ช่อละ 3-4 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวสั้น 5 กลีบ เป็นแฉกคล้ายรูปดาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 5-7.5 เซนติเมตรปลายแยกเป็น 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร - ฝัก/ผล  ผลสด รูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลม ปลายผลแบน มีรอยหยักเป็น 2 แฉก  ขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร  มีสันนูนเป็นแนวยาว  สีเขียว เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดเดียว เป็นพิษทั้งผล
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ รสเอียนเมา ต้มดื่ม เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน กินมากตายได้ - เมล็ด รสเมาเบื่อ ใช้เล็กน้อย กระตุ้นและบำรุงหัวใจ ใช้มากถึงตาย - เปลือกต้น รสขมเอียน ต้มดื่ม แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาถ่าย กินมากตายได้ - ต้น รสเอียนเมา ตำทา แก้โรคผิวหนัง ต้มดื่ม แก้หลอดลมอักเสบ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท