ค้นหาตามคำ
ค้นหาตามอักษร
     


   
ชื่อ กัลปพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Ceaib
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีดำแดงแตกเป็นร่องลึก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาระบายอ่อนๆ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กาซะลองคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis
ลักษณะสำคัญ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกตรงข้ามกัน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบนำมาตำคั้นน้ำทาหรือพอก รักษาแผลสด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กฤษณา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria crassna Pierre.A.malaccensis Lamk
ลักษณะสำคัญ เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียงศีรษะ แก้อาเจียนท้องร่วง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กำลังเสือโคร่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Betula alnoides Buch - Ham
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กันเกรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb
ลักษณะสำคัญ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียวตรงข้ามแผ่นใบรูปรี
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กาฬพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia grandis Linn
ลักษณะสำคัญ โคนมีพูพอนเปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาระบายอ่อนๆ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เกด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara hexandra
ลักษณะสำคัญ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมลำต้นและกิ่งก้างมักคดงอ
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระพี้จั่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia brandisiana Kurz
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีเทาใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับมีใบย่อย
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระบาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anisoptera costata Korth
ลักษณะสำคัญ ลำต้าเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกในสีเหลืองอ่อน
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex. A. W. Benn
ลักษณะสำคัญ ผลัดใบช่วงสั้นๆ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดแน่นทึบและแผ่กว้าง ลำต้นหนาโคนต้นที่อายุมากมักเป็นพูพอน เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 200 ซม.
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงไขข้อ แก้ข้อขัด บำรุงไต ฆ่าพยาธิในท้อง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กระซิก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia parviflora Roxb.
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย เมื่อแก่เกลี้ยง ใบ ประกอบแบบนก ยาว 10 –20 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อยมี 5 – 7 ใบ ดอกมีขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ผล เป็นฝักแบน ขอบฝักบางคมคล้ายมีด ฝักแก่ไม่แตก เมล็ด รูปไต มี 1- 2 เมล็ด สีน้ำตาลอมแดง
สรรพคุณ/ประโยชน์ น้ำมันจากเนื้อไม้ ใช้รักษาแผลเรื้อรัง แก่นและราก มีกลิ่นหอมใช้ทำธูป
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ กัลปพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Craib
ลักษณะสำคัญ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ23เซนติเมตรมีกลีบดอก5กลีบตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร มีลักษณะใบ เป็นพุ่มใบแบนกว้าง
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อในฝัก คนแก่สมัยก่อนใช้กินกับหมาก เปลือกฝัก เมล็ด รสขมเอียน ทำให้อาเจียน ถ่ายพิษไข้ เนื้อในฝัก รสหวานเอียนขม ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกไม่ไซ้ท้อง ระบายท้องเด็กได้ดีมาก (ฤทธิ์อ่อนกว่าเนื้อฝักคูน)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ การะเกด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus tectorius  Blume
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 3-7 ม. ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น 3 เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ กว้าง 0.7-2.5 ซม.ยาว 3-9 ซม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว 0.2-1 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอด มีจำนวนมาก ติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว 25-60 ซม. มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม เกสรเพศผู้ติดรวมอยู่บนก้านซึ่งยาว 0.8-2 ซม. ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลม ประกอบด้วยเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน 3-5 อัน เป็นกลุ่ม 5-12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มกว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายหยักตื้นเป็นร่องระหว่างยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียเรียงเป็นวง ผลเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. แต่ละผลกว้าง 2-6.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอม รับประทาน มีรสขมเล็กน้อย -  แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ -  อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เกาลัค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia monosperma Vent.
ลักษณะสำคัญ ต้น    สูง 4-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกเรียบหรืออาจแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น กิ่งอ่อนเกลี้ยง มีรอยแผลใบอยู่ทั่วไป - ใบ    เดี่ยว เรียงเวียนกันบริเวณใกล้ๆ ปลายกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม. โคนมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ปลายมนสอบแคบกว่าทางโคนใบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา เกลี้ยง ย่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนเป็นมัน เส้นกลางใบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดทางด้านล่าง ส่วนด้านบนมีสีเข้มตามแนวเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบตัดกับสีพื้นของแผ่นใบ ก้านใบยาว 2-10 ซม. เมื่อแห้งสีชมพูเรื่อๆ และมักหักทำมุมกับเส้นกลางใบเล็กน้อย - ดอก    ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและเหนือรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 35 ซม. ห้อยลง มีช่อแขนงมาก ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆ รูปคล้ายโคมเล็กๆ ด้านนอกมีขนประปราย เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. ก้านดอกเรียวเล็ก ยาวไม่เกิน 1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายผายออกเป็นรูปกรวย แล้วแยกเป็นแฉกยาว 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มและติดกันบริเวณปลายกลีบ และจะแยกเป็นอิสระพร้อมๆ กับกลีบจะบิดเบี้ยวเมื่อดอกใกล้โรย ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ รังไข่มี 5 พู มีขนแน่น - ฝัก/ผล    ออกรวมกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มย่อยมักมี 2 ผล ก้านช่อยาวถึง 20 ซม. ผลสีแดงหรือสีแสด รูปมนหรือค่อนข้างกลม กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. เปลือกแข็ง มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ เปลือกเป็นคลื่นไปตามรูปเมล็ดที่อยู่ภายใน ปลายผลมักเป็นจะงอยโค้งเล็กน้อย ผลแก่จะแตกออกตามรอยประสานด้านข้าง ก้านผลเห็นไม่ชัด - เมล็ด    สีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ เกาลัดมีฤทธิ์อุ่น  รสหวาน  มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย  บำรุงไต  กล้ามเนื้อ  ม้าม  และกระเพาะอาหาร  บำรุงลม  แก้ร่างกายอ่อนแอ - แก้ไอ  ละลายเสมหะ  แก้อาเจียน  คลื่นไส้  ท้องเดิน - ห้ามเลือด ช่วยการไหล  เวียนเลือด - แก้อาการถ่ายเป็นเลือด  เลือดกำเดาไหล - แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต  และอาเจียนเป็นเลือด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (L.) Jack.
ลักษณะสำคัญ ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร[8] โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่องๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน - ใบแก้ว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบางๆ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุนคล้ายผิวส้มเป็นน้ำมันติดมือ - ดอกแก้ว ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกติดกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี - ผลแก้ว ลักษณะของผลเป็นกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด สีขาวขุ่น เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบมีรสร้อนเผ็ดและขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ) - ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น (ราก) - ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ดอก,ใบ) - ช่วยแก้อาการไอ (ดอก,ใบ) - ราก ก้าน และใบสดสามารถนำมาใช้เป็นยาชาระงับอาการปวดได้ จึงมีการนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟันและปวดกระเพาะ (ราก,ก้าน,ใบสด) บ้างก็ว่าก้านและใบสดมีรสเผ็ดร้อนขม นำมาต้มก็ใช้เป็นยาอมบ้วนปากแก้อาการปวดฟันได้เช่นกัน (ก้านใบ,ใบสด) - รากใช้เป็นยาแก้ฝีฝักบัวที่เต้านม (ราก) - รากใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก) - ใบช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ) - ช่วยแก้บิด (ใบ) - ใบมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ (ใบ) - ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก,ใบ) - ใช้เป็นยาแก้ปวดกระเพาะ ด้วยการใช้ใบแก้วแห้ง, กานพลู, เจตพังคี, และเปลือกอบเชย นำมาบดเป็นผงใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นยาประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หรือจะนำผงที่ได้มาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเทาเม็ดถั่วเหลืองก็ได้ โดยใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (ใบแห้ง) - ใบใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด (ใบ) - ใบใช้เป็นยาขับประจำเดือนหรือระดูของสตรี (ใบ) หรือจะใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม (สดให้ใช้ 30-60 กรัม) นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานหลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (รากแห้ง) - รากและต้นแห้ง นำมาหั่นและต้มเคี่ยวแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้ ช่วยเร่งการคลอดบุตรของสตรี โดยใช้ผ้าพันแผลจุ่มกับน้ำยาสอดเข้าไปที่ปากมดลูก (ราก,ต้นแห้ง) - รากใช้เป็นยาแก้ฝีในมดลูก (ราก) - รากสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผล (รากสด) ใช้เป็นยาแก้แผลคัน (ราก) - ใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นและที่เกิดจากแมลงกัดต่อย (ราก,ก้าน,ใบสด) แก้อาการคันที่ผิวหนัง (ราก) - แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้รากและใบสดนำมาต้มใช้ชะล้างบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย (ราก,ใบสด) แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก) - รากสดมีรสเผ็ดสุขุม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้แผลฟกช้ำได้ (รากสด) แก้ฟกช้ำดำเขียว (ราก) แก้แผลเจ็บปวดที่เกิดจากการกระทบกระแทก (ใบ) - ช่วยแก้ฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบแก้วสด, ขมิ้น, ขิง, และไพร นำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้า แล้วนำไปคั่วให้ร้อน นำผ้าสะอาดห่อ ใช้เป็นยาประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำ ประมาณ 20-30 นาที โดยให้ทำวันละ 2-3 ครั้ง (ใบสด) - รากใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บรรเทาอาการปวดบวม แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก) บ้างว่าใช้รากแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยใช้ตุ๋นกับหางหมูเจือกับสุราใช้กินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยเอว (รากแห้ง) - ก้านและใบสดเมื่อนำมาบดแช่กับแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้ทาหรือฉีดเป็นยาระงับอาการปวดได้ (ก้านใบ,ใบสด)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แก้วมุกดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea racemosa Javanica, Fagraea blumeana
ลักษณะสำคัญ แก้วมุกดาเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย (ลักษณะเดียวกับต้นเฟื่องฟ้าที่เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเหมือนกัน) ถ้าปลูกกลางแจ้งเป็นได้ทั้งไม้พุ่มเตี้ยๆ ประดับสวนหรือเป็นไม้พุ่มสูง 2-3เมตร บังแดด ให้ร่มเงาก็ได้  ทรงพุ่มจะออกทางแผ่กว้างออกด้านข้าง ให้ร่มเงาดี โตช้า (อ้างอิง : พรรณพฤกษา ณ ภูวนาลี, เดือนฉาย คอมันตร์)  เหมาะกับการเป็นต้นไม้บังแดดให้บ้าน อาจจะเลือกปลูกทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้จะช่วยลดความร้อนที่เข้ามาในบ้านได้ แล้วไปเพิ่มกลิ่นหอมๆ ฟุ้งกระจายไปรอบๆ บริเวณที่ปลูก กลิ่นจะหอมแรงขึ้นในช่วงอากาศเย็นหรือหลังจากฝนตกใหม่ๆ - ใบและดอก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชานาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalium tomentosum Benth
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพ่มทึบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้กษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ช้างน้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dchna integerrima (Lour) Merr
ลักษณะสำคัญ ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาแข็งและแหลม ใบเป็นใบเดียวออกสลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้ขับพยาธิ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ผิดสำแดง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชะจาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นสูง 25 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีขาวมองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีป้อม โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือก ใช้ทำยารักษาเรื้อนของสุนัข กับตัวไรและเป็นยาแก้ปวดตามข้อ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชิงขัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงโลหิต
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชัยพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น    สูงถึง 15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ทรงพุ่มใบกลมคล้ายร่ม เมื่อต้นยังอ่อนมีหนาม ใบประกอบรูปขนนกปลายคู่   เรียงสลับ มีใบย่อย 5 - 15 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลม ผิวใบด้านล่างมีขนละเอียด - ดอก    เริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ใกล้โรยดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่งยาว 5 - 16 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักกลมสีดำ ยาว 20 - 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ไม่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาระบายอ่อนๆ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชงโค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia glauca Wall. ex Benth
ลักษณะสำคัญ ชงโคเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายๆกับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่วกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความของฝัก โดยเป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษาถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน - ลักษณะของดอกชงโค ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยจะออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 6-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะมีสีชมพูถึงสีม่วงแดง ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกกล้วยไม้ เมื่อบานเต็มที่ดอกชงโคจะกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ตรงกลางของดอกจะมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้าโค้งขึ้นด้านบน และมีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้น ยาวกว่าเกสรตัวผู้
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบชงโคนำไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ) - ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี (ดอก) - ชงโคสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก,ราก) - ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น) - ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น) - ช่วยแก้บิด (ดอก,แก่น,เปลือกต้น) - ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก) - ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ) - ใบชงโคใช้พอกฝี และแผลได้ (ใบ) - ประโยชน์ของชงโค มักปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมชื่นใจ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชมพูพันธ์ทิพย์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabebuia rosea (Bertol.) DC
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้นๆ เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย -  ใบ (Foliage) :  ใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร   ปลายใบแหลม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสียตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืนและเยื่อใช้ทำกระดาษได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชะพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum  Roxb.
ลักษณะสำคัญ ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ  ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูปทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก  ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ผล  -  เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด - ราก ต้น ดอก ใบ – ขับเสมหะ - ราก - แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด - ทั้งต้น แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ / รักษาโรคเบาหวาน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ชะมวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb
ลักษณะสำคัญ ใบ ชะมวงจากต้นชะมวง หรือที่ทางปักษ์ใต้เราเรียกว่า ต้นส้มมวง ถือเป็นไม้ไทยใกล้มือที่คนท้องถิ่นแถบภาคตะวันออกแถวเมืองจันทร์ไปจนถึงตราด และแถวปักษ์ใต้บ้านเรา นิยมเก็บยอดและใบอ่อนมาปรุงอาหารประเภทต้มส้ม แกงส้ม โดยต้มกับกระดูกหมู กระดูกวัว หรือซี่โครงหมู ที่เรียกกันว่า ซี่โครงหมูต้มใบชะมวง สำหรับที่เป็นอาหารขึ้นโต๊ะในเมนูอาหารรสเด็ดที่รู้จักกันดีก็คือ แกงกะทิใบชะมวง ทั้งนี้ก็เพราะจะได้ รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยว แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิต แก้ไอ แก้กระหายน้ำ - ราก ใช้แก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษ แก้บิด ลดเสมหะ - ใบ ใช้เป็นยาระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอก กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิต แก้ไอ แก้กระหายน้ำ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แซะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia atropurpurea Benth
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ขี้เหล็กบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia siamea m.lrwin & Barneby
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาลแตกตามยาวเป็นร่อง
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้โรคเหน็บฃา แก้ไข้ผิดสำแดง แก้ฟกช้ำ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เข็มปัตตาเวีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha integerrima Jacq.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้พุ่ม  เรือนยอดทรงพุ่มรูปไข่   มีความสูง  1.2  เมตร  ความกว้าง   0.65  เมตร   อาศัยอยู่บนบก   ลำต้นเหนือดินตั้งตรงเองได้  เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเทา  ขรุขระ   มียาง   เป็นใบเดี่ยว   สีเขียว  ขนาดกว้างแผ่นใบ  5  เซนติเมตร  ความยาวของใบ  7  นิ้ว   ลักษณะพิเศษของใบ  คือ หลังใบจะมีสีค่อนข้างแดง   การเรียงตัวของใบบนกิ่งสลับ  รูปร่างใบเป็นรูปรี รูปร่างแผ่นใบเป็นรูปขอบขนาน    ปลายใบเป็นเรียวแหลม    โคนใบรูปลิ่ม   ขอบใบเรียบ  ออกดอกเป็นช่อกระจุกเชิงประกอบ ตำแหน่งที่ออกดอกบริเวณปลายยอด กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน  ปลายแยกเป็น  6  แฉก  สีน้ำตาลแดง  กลีบดอกแยกจากกัน  มีจำนวน  5  กลีบ  สีแดง  เกสรเพศผู้  มีจำนวน 8-10  อัน  สีเหลืองส้ม  เกสรเพศเมีย  มีจำนวน  5  อัน  สีเหลืองส้ม  รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ  มีกลิ่นหอม  ผลเดี่ยว  ผลแห้งแตกกลางพู  ผลอ่อนสีเขียว  ผลแก่สีน้ำตาล  ผลมี  3  พู
สรรพคุณ/ประโยชน์ มีความเชื่อว่า  ดอกเข็มปัตตาเวียเป็นดอกแรงเชียร์แห่งฝัน  เป็นหนึ่งดอกไม้ที่ให้กำลังใจกัน  หมายถึง  บุคคลที่ได้รับดอกนี้เป็นบุคคลผู้สร้างสรรค์ให้โลกสวยงาม    น้ำยางหากกินเข้าไปประมาณครึ่งชั่วโมง จะมีอาการคลื่นไส้  ปวดท้อง  เป็นอัมพาตที่แขน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylia xylocarpa
ลักษณะสำคัญ กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนะเอียดสีเหลือง
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงหัวใจ ขับฟอกและบำรุงเลือด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ดาดตะกั่ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hemigraphis alternata(Burm.f.) Anderson.
ลักษณะสำคัญ ดาดตะกั่วเป็นไม้ประดับประเภทคลุมดินที่มีสีสันงดงาม แปลกตามาก   ดาดตะกั่วมีใบรูปหัวใจ  ขอบใบหยัก ผิวใบด้านบนมีสีคล้ายกับสีโลหะ เมื่อถูกแสงจะมีประกายสวยงาม ส่วนใบด้านล่างจะมีสีแดงอมม่วง ดาดตะกั่วสามารถทนทานต่อการขาดน้ำได้ระยะหนึ่ง ส่วนมากนิยมใช้ประดับตามสวนหย่อม หรือปลูกประดับเอาไว้ใต้โคนต้นไม้ หรือตามดขดหิน - ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นสีแดง และเป็นข้อ ๆ ลำต้นสูงประมาณ 10-15 ซ.ม. - ใบ : ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ด้านบนเป็นสีเขียว แต่ถ้าถูกแดดจัด ๆ จะกลายเป็นสีเทาอมเขียว ส่วนด้านใต้ใบนั้นเป็นสีแดง  ขอบใบจะวัดขนาดของใบนั้นกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาว 2-3 นิ้ว - กิ่งก้าน : แตกสาขาออกเป็นพุ่มแผ่กระจายมากมาย - ดอก : ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของกิ่ง  ในแต่ละช่อนั้นจะมีใบประดับเรียงซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ ยาว 1-1.5 นิ้ว ตัวดอกเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก สีขาวทรงดอกยาวประมาณ 0.5 นิ้ว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ต้น ดื่มเป็นยาแก้ตกเลือด  รักษาโรคผิวหนัง ใบเป็นยาแก้บิด แก้รดสีดวงทวาร แก้โรคนิ่ว  ขับปัสสาวะ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ตะเคียนชันจาแมว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Balanocarpus heimii King
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบลำต้นเปลาตรง
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ตะเคียนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบกลมหรือรูปเจดีย์เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ มีฤทธิ์เป็นยาปฎิชีวนะ แก้อักเสบห้ามเลือด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ตะแบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia floribunda  Jack
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เปลือกเรียบเป็นมันสีเทาอมขาว แตกร่อนเป็นหลุมตื้น ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 5 – 7 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอก สีม่วงอมชมพู่เมื่อแก่สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแก่แตกเป็น 6 ซีก เมล็ด เล็ก มีปีกโค้งทางด้านบน 1 ปีก
สรรพคุณ/ประโยชน์ รสฝาด แก้บิด มูกเลือด แก้ลงแดง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ตะเคียนหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ตะกู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น เปลือกแตกเป็นร่องละเอียดตามยาว สีออกเทาปนน้ำตาลใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่ กว้าง 7.5-17.5 ซม. ยาว 20 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ๆ และมีสีเข้มส่วนท้องใบจะมีขนสั้น ๆ แทบมองไม่เห็นแต่สัมผัสนุ่มมืออยู่ด้านล่าง เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้าน และใบจะหลุดร่วงไปเองเมื่อแก่
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ หรือสร้างบ้าน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ตะแบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata
ลักษณะสำคัญ ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมยิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มีเปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว 6 เสี้ยวภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือก ต้มน้ำดื่มแก้บิด บิดมูกเลือด แก้อาการลงแดงได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ตีนเป็ดฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cresentia alata  L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นสูง 4-10 เมตร  ลำต้น  เรือนยอดโปร่ง แผ่กว้างเปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเป็นกระจุกตามลำต้นและตามกิ่ง ก้านใบเป็นครีบ ใบย่อย 3 ใบ รูปใบหอก รูปไข่กลับค่อนข้างแคบ รูปช้อน หรือเป็นแถบยาวไม่มีก้านใบย่อย ดอก ส่วนปลายสีเขียวอมเหลือง โคนสีม่วงเข้มถึงน้ำตาล มีลายสีม่วงแดง กลิ่นเหม็นหืน ออกเดี่ยวหรือคู่เป็นกลุ่ม 1-3 ดอก ตามลำต้นและกิ่ง มลำต้นและกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉกกลีบเลี้ยง 2 กลีบ โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกในช่วงฤดูหนาว ผล ค่อนข้างกลม เปลือกเข็งหนา ผิวเกลี้ยง มีเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบสามารถนำมาทำเป็นฝาดสมาน แก้ท้องเสีย แก้บิด ห้ามเลือดและเนื้อในผลก็รักษาโรคไต ทำให้ผมดกดำ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ไทรย้อยใบแหลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina Linn
ลักษณะสำคัญ มีรากอากาศใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรีแกมรูปไข่
สรรพคุณ/ประโยชน์ ต้มขับปัสสาวะแก้ขัดเบา
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ทุ้งฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia macropylla Wall
ลักษณะสำคัญ กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเนรอบๆ เรือนยอดรูปไข่
สรรพคุณ/ประโยชน์ รากช้ผสมยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำหนัด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monospermao.Ktze
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยางแก้ท้องร่วง ใบตำพอกฝีและสิว,ถอนพิษ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ทองหลางลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegata Linn
ลักษณะสำคัญ กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ปวดท้อง ปวดพัน รักษาฝี
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เทพทาโร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomun porrectum Kosterm
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี ใช้ต้มกินแก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับลมในลำไส้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เทียนหยด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Duranta repens L.; Duranta erecta L
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบรูปไข่ ดอกออกทั้งปีออกเป็นช่อ ดอกมีสีม่วงอมฟ้า หรือขาว ผลกลมสีส้มเหลือง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ไทร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus Benjamina L.
ลักษณะสำคัญ ต้น  ไม้สูง 5-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง สีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง โตช้า มีรากอากาศห้อยย้อยสวยงาม - ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมโคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน - ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผลไม่มีกลีบดอก - ฝัก/ผล  รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อไม้ ใช้แก้ลมพิษ แก้กามโรค เปลือกต้น เป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ทำให้ฟันทน ยาถ่ายและฆ่าพยาธิ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ไทรใบกลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficusannulata     Blume
ลักษณะสำคัญ ต้น  พรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นพรรณไม้แยกมาจากตระกูลยางอินเดีย - ใบ  ใบกลมและเล็ก ใบดก ใบสีเขียวเข้มขอบเรียบตลอดทั้งใบ ปลายใบมน โคนใบมนและสอบเข้าหาก้านใบ - ผล  ผลกลมคล้ายลูกเบอรี่ มีสีเหลืองแดง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ นนทรีป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum dasyrachis Kurz,ex Baker
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดป็นรูปพุ่มกลมทึบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกมีรสฝาด รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ นนทรีบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.)Backer ex K.Heyne
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆกิ่งหรือก้านอ่อนจะมีสีขนสีน้ำตาลแดงเรือนยอดรูปร่ม
สรรพคุณ/ประโยชน์ รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ นนทรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K.Heyne
ลักษณะสำคัญ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยจนไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลายๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด - ใบนนทรี ใบออกเป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร มีใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 9-13 คู่ แขนงบ่อยคู่ต้นๆ จะสั้นกว่าคู่ถัดไป และคู่ที่อยู่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรหลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อน - ดอกนนทรี ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งขึ้น โดยจะออกตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง มีกิ่งแขนงในช่อดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะบางและค่อนข้างยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย ดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบวางเกยทับกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน โดยทั่วไปจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และออกดอกทั้งต้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แต่อาจขยายเวลาได้ตามลักษณะของดินฟ้าอากาศในแต่ละปี และลักษณะของพันธุกรรมของต้นนนทรีแต่ละต้น - ผลนนทรี เนื่องจากต้นนนทรีเป็นพืชในตระกูลถั่ว จึงออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบนเป็นรูปหอก ปลายฝักและโคนฝักเรียวแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ฝักสดเป็นสีเขียวพอแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดวางตัวเรียงขวางกับฝัก ประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีความแข็งแรงมีรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกต้นมีรสฝาดร้อน ใช้เป็นยากล่อมเสมหะและโลหิต (เปลือกต้น) - ช่วยปิดธาตุ (เปลือกต้น) - เปลือกต้นใช้เป็นยาขับผายลม (เปลือกต้น) - เปลือกต้นมีสารแทนนินสูง จึงช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสียได้ (เปลือกต้น)ด้วยการนำเปลือกต้นมาเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วเอาน้ำมากิน (เปลือกต้น) - ช่วยแก้บิด (เปลือกต้น) - เปลือกต้นใช้เป็นยาขับโลหิต ขับประจำเดือนของของสตรี (เปลือกต้น) - ใช้เป็นยาสมานแผลสด (เปลือกต้น) - ยอดใช้เป็นยาทาแก้โรคเจ็ด (โรคผิวหนังชิดหนึ่ง) โดยใช้ยอด 1กำมือ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับไข่ขาว (ไข่เป็ด) ใช้ทาบริเวณที่เป็น แล้วใช้ผ้าพันทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วค่อยลอกออก (ยอด) - เปลือกต้นนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมันเป็นยานวดแก้ตะคริว แก้กล้ามเนื้ออักเสบ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ นารีรำพึง/รำเพย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thevetia peruviana
ลักษณะสำคัญ ต้น  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น - ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่รอบกิ่ง ใบรูปใบหอกเรียวแคบหรือรูปแถบ กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร  ยาว  7.5-14 เซนติเมตร     ปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ขอบใบเรียบ  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบสั้น - ดอก  สีเหลือง ส้มและขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง  ช่อละ 3-4 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวสั้น 5 กลีบ เป็นแฉกคล้ายรูปดาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 5-7.5 เซนติเมตรปลายแยกเป็น 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร - ฝัก/ผล  ผลสด รูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลม ปลายผลแบน มีรอยหยักเป็น 2 แฉก  ขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร  มีสันนูนเป็นแนวยาว  สีเขียว เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดเดียว เป็นพิษทั้งผล
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ รสเอียนเมา ต้มดื่ม เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน กินมากตายได้ - เมล็ด รสเมาเบื่อ ใช้เล็กน้อย กระตุ้นและบำรุงหัวใจ ใช้มากถึงตาย - เปลือกต้น รสขมเอียน ต้มดื่ม แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาถ่าย กินมากตายได้ - ต้น รสเอียนเมา ตำทา แก้โรคผิวหนัง ต้มดื่ม แก้หลอดลมอักเสบ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ บุนนาค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea Linn
ลักษณะสำคัญ ลำต้าเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ลมในลำไส้ แก้เสมหะในลำคอ เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ บุษราคัม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena goldieana
ลักษณะสำคัญ ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 4-10 เมตร ลำต้นกลม ต้นตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นเป็นข้อถี่ ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล - ใบ  เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากลำต้นส่วนยอดเรียงซ้อนกันเวียนรอบลำต้นเป็นรูปวงกลมลักษณะใบเรียวยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันสีเขียว ตัวใบโค้งงอ ขนาดใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร - ดอก  ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้นช่อดอกมีขนาดใหญ่เป็นรูปทรงกลมช่อดอกยาวดอกมีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกลุ่มดอกมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ แก้ปวดท้อง ราก บรรเทาอาการปวดในการคลอดบุตร - เป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่ดูดสารพิษภายในอาคารจำพวก ฟอร์มาดีไฮด์ ได้มีประสิทธิภาพ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ บุหงาส่าหรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citharexylum spinosum L.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ขนาดเล็กสูง 3-10 เมตร  ทรงพุ่มโปร่ง  แตกกิ่งก้านจำนวนมาก  ใบเดี่ยวรูปหอกเรียงตรงกันข้าม  กว้าง 6-5 เซนติเมตร  ยาว 10-15 เซนติเมตรก้านใบมีสีส้ม  ดอกเป็นช่อสีขาว  ยาว 10-20 เซนติเมตร  ออกตามชอกใบและปลายกิ่ง  มีกลิ่นหอมแรง  ในเวลากลางคืน  จนถึงสาย ๆ ออกดอกตลอดปี - ต้น  - เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง  แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มเปลือกต้นมีกลิ่นเหม็นเขียว  ลำต้นสูงประมาณ 25 ฟุต - กิ่งก้าน  - กิ่งก้านเป็นใบเดี่ยว  รูปหอก  ออกตรงข้าม - ใบ  - เป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ๆ ขนานกันตามข้อต้น  ลักษณะเป็นใบรูปหอก  แข็งแต่เรียบขอบใบมักจะพับเข้าหากัน  ใบดกมีสีเขียว  เมื่อเด็ดมาดมจะเหม็นเขียว - ดอก  - ดอกเป็นพวงอยู่ตามปลายกิ่ง  ลักษณะของพวงจะห้อย  แต่ละพวงจะแยกออกเป็นก้านดอก  ก้าน ๆ หนึ่งจะออกดอกเรียงกันตั้งแต่โคนก้านจนถึงปลายก้านบานหมดทั้งก้าน  พวงหนึ่งจะมีก้านดอกประมาณ 8-15  ก้าน  ดอกมีสีขาวเล็ก  บานเต็มที่ประมาณ 1 เซนติเมตร  มีอยู่ 5 กลีบ  ดอกมีกลิ่นหอม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ  พุ่มให้ร่มเงา  ดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ใบเงิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Grapthophyllun pictum
ลักษณะสำคัญ ใบเงินเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งสาขาออกจากโคนต้น
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ แก้ไข้ ล้อมตับ ดับพิษ (ป้องกันการทำลายของตับจากสารพิษและความร้อน)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ประดู่ปา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ พอกฝีให้สุกเร็ว พอกบาดแผล แก้ผดผื่นคัน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปีป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn.F.
ลักษณะสำคัญ เปลือกขรุชระสีเทาตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงปอด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ประดู่บ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd
ลักษณะสำคัญ เปลือกสีน้ำตามเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ท้องเสีย แก้เสมหะ แก้โรคคุทรด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cycas cirinalis L.
ลักษณะสำคัญ ต้น เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน - ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับหนาแน่นช่วงยอดหรือปลายกิ่ง ใบย่อยด้านล่างมักลดรูปเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบ หนา จำนวนมาก เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบย่อย มีเกล็ดหุ้มยอด (cataphyll) - ดอก แยกเพศต่างต้น ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophyll) จำนวนมาก รูปลิ่ม ปลายมักแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอับเมกาสปอร์ (megasporophyll) ของเพศเมีย เรียงเป็นกลุ่มคล้ายใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (rosette) ไม่เป็นรูปโคน แต่ละสปอร์โรฟิลมีก้าน ปลายก้านเป็นแฉกแบบขนนกรองรับออวุล ออวุลมี 1-5 เม็ด - เมล็ด ทรงกลมหรือรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนาด้านนอก ด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ ลักษณะคล้ายผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ใบเลี้ยง 2 ใบ ติดกันที่โคน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ดอกมีรสเผ็ด  บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์  แก้ลมดีและเสมหะพิการ  บำรุงธาตุ  หัว  นำมาฝนปรุงกับสุรา  แก้ฟกบวม  รักษาแผลเรื้อรัง  แก้แผลกาย  ใช้เป็นยาสมานแผลได้ดีมาก ปรงนี้  นำมาทำเป็นยา  ใช้ทาแผลที่อักเสบ  หรือใช้ดูดหนองฝีและดับพิษ  ชาวป่าทางภาคเหนือนิยมใช้กันมาก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Palmae หรือ Arecacae
ลักษณะสำคัญ ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด กล่าวคือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่ไม่ได้มีลำต้นสูงพ้นดิน แต่ก็มีลักษณะใบแบบปาล์ม ทำให้สังเกตได้ไม่ยากนัก ทยาย - ลำต้น ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กัน จึงปรากฏเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองแล้ว ยังมีลำต้นที่แตกกิ่ง เช่น ปาล์มกิ่ง (Hyphaene thebaica) นับว่ามีลักษณะที่โดดเด่นจากปาล์มชนิดอื่นๆ มากทีเดียว ส่วนปาล์มที่มีขนาดเล็กจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ระกำ หรือลำต้นทอดไปตามพื้นดิน เช่น จาก และลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้แก่ หวายทุกชนิด ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ ข้อหรือวงแหวนรอบลำต้นนั้น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของปาล์มทีเดียว ซึ่งเกิดจากการร่วงหลุดของก้านใบนั่นเอง บางชนิดเมื่อร่วงแล้วลำต้นเกลี้ยง บางชนิดแม้ใบจะเหี่ยว แต่ก้านใบก็ไม่หลุดเสียเลยทีเดียว ปาล์มบางสกุลมีลำต้นที่อ้วนป่องตรงกลาง (ปาล์มขวด,ปาล์มแชมเปญ) มีการสะสมน้ำไว้ในลำต้นขณะที่ปาล์มขนาดเล็กบางชนิดมีรกพันที่ลำต้น (จั๋ง, เคราฤๅษี) - ใบ ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะในของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัด หรือฝ่ามือ ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) กล่าวกันว่า ชื่อของปาล์ม (palm) ก็มาจากลักษณะที่คล้ายกับฝ่ามือ (palm) นั่นเอง ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไป ติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น - ผล ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็กมาก เช่น หวาย จนถึงขนาดปานกลาง เช่น หมาก อินทผลัม และขนาดใหญ่ อย่างมะพร้าว หรือมะพร้าวแฝด ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี ก็คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก (ใช้เคี้ยว) ปาล์มที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด คือมะพร้าวแฝด (Lodoicea maldivica) - ดอก จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่นหอม ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็ก และแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออก จะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปึก และน้ำตาลเมาได้
สรรพคุณ/ประโยชน์ 1. อาหารจากปาล์ม ในการประกอบอาหารส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันที่ผลิตจากผลของปาล์ม มะพร้าวให้กะทิ และน้ำมัน น้ำตาลจากมะพร้าว ตาลจากอินทผลัม แป้งจากสาคู และลูกชิด ฯลฯ - 2. ที่อยู่อาศัย โดยใช้ส่วนต่างๆ ของปาล์มมาเป็นที่อยู่อาศัยก่อนพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น การนำใบจากมามุ้งหลังคา ต้นมาหมาก ต้นเหลา ซะโอนใช้ทำเสาบ้านเรือน ต้นมะพร้าวทำพื้น และฝาบ้าน นอกจากนี้ยังใช้หวายผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ - 3. เครื่องนุ่งห่ม ปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่ม ผลของปาล์มนำมาเป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสง ปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้เช่นกัน - 4. ยารักษาโรค ปาล์มหลายชนิดสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้อาจจะใช้ในรูปที่สกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมัน ยาไทยโบราณหลายชนิดใช้หลากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก แก้ร้อนใน เนื้อในของหมากใช้สมานแผล แก้ท้องร่วง ใบหมากแก้ไข น้ำมะพร้าวเป็นยาบำรุงครรภ์และใช้ถอนพิษเบื่อเมา น้ำมันมะพร้าวผสมและปรุงยาและน้ำมันนวดแก้ฟกซ้ำ รักษาบาดแผลและฝี แขนงช่อดอกของตางตัวผู้หรือเรียกว่าวงศ์ตาล ใช้ปรุงเป็นยาแก้ตาลขโมย เป็นต้น - 5. การใช้ปาลืมเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ นั้น เนื่องจำปาล์มมีลักษณะให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมตามความรู้สึกของผู้ใช้และผู้พบเห็น มีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่ เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อย รูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสัน จึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือ ขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม ซึ่งมักจะมีต้นปาล์ม เข้าไปเป็นส่วนประกอบที่เพิ่มความงดงามอยู่เสมอ นอกจากนั้นปาล์มยังสามรถนำมาปลูกในกระถางแล้วนำไปวางประดับภายในอาคารใช้เป็นไม้ในร่มได้เป็นอย่างดี มีลีลาที่สวยงามไม่แพ้ไม้ประดับในร่มชนิดอื่น ๆ เช่นกัน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์มขวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Roystonea regia (H.B.K.) Cook
ลักษณะสำคัญ ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นคอดใกล้โคนและป่องกลาง ลำต้นขนาด 50 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่สีเทา เห็นข้อปล้องชัดเจน คอสีเขียวเข้มและยาวถึง 1 เมตร - ใบ (Foliage) ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานกว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา แตกออก 2 ทิศทางห้อยโค้งลงจึงเห็นเป็นพวงใหญ่ โคนกาบใบสีเขียวห่อลำต้นไว้ ก้านใบย่อยเป็นสันคม - ดอก (Flower) สีขาวครีมเป็นมัน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร - ผล (Fruit) ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกระบอกค่อนข้างป้อม ปลายแคบแหลม ขนาด 0.8-1.3 เซนติเมตร ผลแก่สีน้ำตาลอมม่วง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยอดอ่อนรับประทานได้คล้ายยอดมะพร้าว ผลใช้เลี้ยงหมู
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์มพัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pritchardia pacifica Seem. & H. Wendl. 
ลักษณะสำคัญ ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 20-30 เซนติเมตร - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยวรูปพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวอ่อน ขอบใบจักเว้าตื้นตาม รอยจีบ ก้านใบสีเขียวยาว 1 เมตร ไม่มีหนามแต่โคนกาบใบมีเส้นใยสีน้ำตาลคลุม - ดอก (Flower) สีเหลืองปนน้ำตาล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 0.9 เมตร - ผล (Fruit) ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลม ขนาดประมาณ 1.2 เซนติเมตร ผลแก่สีดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ อาหาร น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารในปัจจุบันสกัดจากปาล์มน้ำมันเป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้คนไทยบริโภคน้ำมันจากมะพร้าวในรูปของกะทิ น้ำตาลจากมะพร้าว ตาล จาก อินทผลัม ต้นสาคู เเละชิด เป็นต้น - ที่อยู่อาศัย มนุษย์ได้เริ่มใช้ปาล์มมาทำเป็นที่อยู่อาศัยก่อนไม้ชนิดอื่น ๆ จะเห็นจากการใช้ใบจากมุงหลังคา ต้นหมาก ต้นเหลา ชะโอนทำเสาบ้าน พื้นบ้านและฝาบ้าน หวายใช้ผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ - เครื่องนุ่งห่ม ปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่ม ผลปาล์มบางชนิดใช้เป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสง ปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้ - ยารักษาโรค ปาล์มหลายชนิดสามารถใช้รักษาโรคได้ อาจจะได้ในรูปสกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมัน ยาไทยโบราณหลายชนิดใช้รากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก รากมะพร้าว รากตาล - ปาล์มยังเป็นที่นิยมในการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ มีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่ เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อย รูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสัน จึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปาล์มแวกซ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Copernicia prunifera (Mill.) H.E. Moore.
ลักษณะสำคัญ ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 10-40 ซม. ลำต้นมีกาบใบติดแน่น - ใบ (Foliage) ใบรูปพัด แผ่นใบกลม แผ่กว้าง 1 เมตร หนาและเเข็ง แผ่นใบด้านบนและด้านล่างสีเขียวมีนวล ขาวเด่นชัด แตกใบย่อยจักเว้าลึกเกือบถึงสะดือ ก้านใบยาว 1 เมตร และมีหนามตรงขอบ - ดอก (Flower) ออกเป็นช่อที่ซอกกาบใบ ช่อดอกชูตั้งขึ้น ยาวถึง 2 เมตร ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน - ผล (Fruit) ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรี ขนาด 1.5 ซม. ผิวเรียบเกลี้ยง มี 1 เมล็ดต่อผล
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ปีบทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 6 - 20 เมตร เรือนยอดรูปไข่แคบโปร่ง ลำต้นเปลาตรง - เปลือก สีน้ำตาล เทา หรือน้ำตาลเข้ม - ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกตรงข้ามกัน ใบย่อย 2 – 5 คู่ แผ่นใบรูปรีแกมรูปใบหอกถึง รูปไข่แกมรูปใบหอก หรือขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2 - 5 ซม. ยาว 5 - 12 ซม. ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนสอบแหลม ขอบใบเรียบ - ดอก สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 5 - 10 ดอก ทะยอยบาน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4 - 7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้น ๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก ยาว 26 - 40 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก - เมล็ด แบนมีปีก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โพธิศรีมหาโพธิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa Linn
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีน้ำตาล มียางสีขาวใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้โรคหนองใน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พะยอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburgkii G.Don
ลักษณะสำคัญ มีเนื้อไม้แข็ง สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้เป็นยาสมานลำไส้แก้ท้องเดินและลำไส้อักเสบ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albiz lebbeck Benth
ลักษณะสำคัญ ผลัดใบเปลือกนอกขุรขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในเป็นสัแดงเลือดนก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พิกุล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย • ดอกแห้ง - เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ • ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก • เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด • เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก • ใบ - ฆ่าพยาธิ • แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม • กระพี้ - แก้เกลื้อน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โพธิ์ทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thespesia populnea  ( L.) Sol.ex Correa
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 10 – 15 เมตร เปลือกสีน้ำตาล อ่อนอมชมพู ขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆ ตลอดลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร ดอก ใหญ่ สีเหลือง ขนาด 6-10 เซนติเมตร ออกตามง่ามใบ ผล โต ขนาด 4 เซนติเมตร ผิวแข็ง เมล็ด เล็กยาวคล้ายเส้นไหม
สรรพคุณ/ประโยชน์ รากใช้กินเป็นยาบำรุง รักษาอาการไข้ ดอกใช้ต้มกับน้ำนมหยาดหู ใช้สำหรับรักษาอาการเจ็บหู
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พะยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierre
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วดำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบาง ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เปลือกต้นหรือแก่น ผสมแก่นสนสามใบ แก่นแสมสาร และแก่นขี้เหล็ก ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง เปลือกต้นหรือแก่น ผสมลำต้นหวาย ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ตำรายาไทย ราก ใช้รับประทานแก้พิษไข้เซื่องซึม เปลือก ต้มเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย ปากแตกระแหง ยางสด ใช้ทาแก้เท้าเปื่อย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พวงทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thryallis glauca Kuntze
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มชนาดเล็ก แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบดกแน่น ลำต้นและกิ่งก้านสีน้ำตาล แดงอมม่วง - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงตรงช้าม ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอมเหลือง - ดอก (Flower) สีเหลืองเข้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-12 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 เเฉก ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร - ผล (Fruit) ผลแห้งแตก ค่อนข้างกลม มี 3 พู
สรรพคุณ/ประโยชน์ เถา ต้มขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้หวัด ไอ บิด เอ็นขอด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris  (L.) R. Br.
ลักษณะสำคัญ ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตรผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ คล้ายร่มเปลืกสีเทาปนดำ - ดอก ดอกสีขาวหรือขาวบมเหลือง ดอกมีกลิ่นฉุนมาก ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบตามปลายกิ่ง ดอก ออก ต.ค -พ.ค - ผล ผลเป็นฝักแห้ง ทรงกระบอก แตกเป็น 2 ซีกเมื่อแก่เมล็ดมีปุยและมีจำนวนมาก ผล ออก ธ.ค - ม.ค
สรรพคุณ/ประโยชน์ 1.ใช้ในการก่อสร้างทำเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน ของเล่นเด็ก มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมาก -2. ใช้เป็นพืชสมุนไพรโดยการนำส่วนต่างๆ ของต้นสัตตบรรณ หรือต้นตีนเป็ดขาว มีสรรพคุณทางยา ดังนี้ เปลือก ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ขับระดู ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับน้ำนม รักษามาเลเลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ไอ เบาหวาน น้ำยางจากต้น ใช้อุดฟัน แก้ปวดฟัน แก้แผลอักเสบ หยอดหูแก้ปวด ใบ ใช้พอกดับพิษต่างๆ ส่วนใบอ่อนใช้ชงดื่ม รักษาโรคลักปิดลักเปิด แก้ไข้หวัด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พะยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierra
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสีขาวหรือเหลืองอ่อนตามง่ามใบและตามปลายกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบางตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม พะยูงเป็นไม้ทนแล้ง มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น กระจายพันธุ์ในป่าภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-250 เมตร นอกจากนี้ ยังมีพบที่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื่องจากเนื้อไม้พะยูงเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ไม้ตะเคียน ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วสีดำ เป็นเสี้ยนสน เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว จึงนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก หวี ไม้เท้า ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด ทำเครื่องประดับ เช่น กำไล ทั้งยังใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกต้มเอาน้ำอมรักษาปากเปื่อย ปากแตกระแหง รากใช้กินรักษาแก้ไข้พิษ เซื่องซึม ยางสดใช้ทาปากรักษาโรคปากเปื่อย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พิลังกาสา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia polycephala  Wall.
ลักษณะสำคัญ ม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม - ดอก ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ - เมล็ด แก้ลมพิษ - ราก แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู - ต้น แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พุดพิชญา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wringhtia antidysenterica R.Br.
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มขนาดเล็ก กิ่งก้านมีสีน้ำตาลแดง - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวใบด้างล่างสีเขียวอ่อน - ดอก (Flower) สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนปนเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรตรงกลางสีเหลือง มีรยางค์เป็นแผ่นรูปแถบเเข็งคล้ายขี้ผึ้ง ปลายแยกเป็นริ้ว 2-5 ริ้ว ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ พุดศุภโชค
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia antidysenterica R.Br.
ลักษณะสำคัญ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นสูง 1-3 เมตร ผิวลำต้นมีสีขาวเทา แตกกิ่งก้านออกใบรอบต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ตามข้อของกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 8-12 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-6 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีกลิ่นหอมสีขาว กลีบดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ หรือเรียงเป็นชั้นเดียวแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกบานมีความโต 2-5 ซม. ออกผลเป็นฝักรูปกระบอกแหลมโค้ง ภายในมีเมล็ด 3-5 เมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โพธิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa  L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ม. มียางสีขาว - ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ ใบสีเขียวนวลอมเทา ก้านใบเล็กยาว 8-12 ซม. ส่วนยอดอ่อน เป็นสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู - ดอก ดอกสีเหลืองนวล ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกแยกเพศขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล - ผล ผล ผลรวมรูปกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกสีม่วงดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกต้น ทำยาชงหรือยาต้ม แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อน แก้โรคผิวหนัง ผล เป็น ยาระบาย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ฟอร์เก็ตมีน็อต
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynoglossum Lanceola tum Forssk
ลักษณะสำคัญ มีลำต้นที่แข็ง สูงประมาณ 0.5-1 เมตร มีกิ่งก้านแตกแขนงรอบลำต้น ใบเล็กเรียวปลายโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ ๆ หนึ่งยาวประมาณ 20- 30 ซม. มีลักษณะเป็นดอกไม้ สีฟ้า 5 แฉก ขนาดเล็กโดยจะออกดอกตามปลายยอดส่วนโคน กลีบจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะหาด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb
ลักษณะสำคัญ ลำต้นตรงผิดเปลือกนอกขรุขระ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ลม แก้เส้นเนพิการ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะตูม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegle marmelos (L.) Corr
ลักษณะสำคัญ แตกกิ่งต่ำตามลำตัวมีหนามยาว เปลือกสีเทา
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้ท้องเสีย โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะเดื่อชุมพร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus racemosa Linn
ลักษณะสำคัญ กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้อาการท้องเสีย อาเจียน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้างใบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ขับเสมหะในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้ไข้ขับเสมหะ แก้หวัดคัดจมูก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โมกมัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Wrightia pubescens R. Br.
ลักษณะสำคัญ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย มีรูอากาศมาก เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกด้านในมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวด้านบนมีขนเฉพาะที่เส้นกลางใบหรือมีขนทั่วไป ด้านล่างมีขนที่เส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ถึงมีขนทั่วไป เส้นแขนงใบ ข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบ ยาว 3-4 มม. มีขนสั้นนุ่มประปราย ช่อดอก แบบช่อกระจุกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 3-6 ซม. ดอกสีขาวหรือสีชมพู รูปกรวย ก้านช่อดอกและก้านดอกย่อยมีขนสั้นนุ่มประปรายถึงหนาแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ กว้าง 2-3 มม. ยาว 2.5-5 มม.ปลายมนถึงกลม มีขนสั้นนุ่มประปรายถึงหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอดยาว 4-5 มม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปรี รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 มม. ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายมน ปลายหลอดกลีบดอกด้านนอก มีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยงถึงมีขนละเอียด กระบังรอบที่ติดตรงข้ามกลีบดอกยาว 3.5-5 มม. ติดแนบเกือบตลอดความยาว ปลายจักซี่ฟัน กระบังรอบที่ติดสลับกับกลีบดอก ยาว 1.5-3 มม. รูปแถบ ปลายแยกเป็น 2 แฉก เกสรเพศผู้ติดบนหลอดกลีบดอก โผล่พ้นปากหลอด อับเรณูรูปหัวลูกศร มีขนสั้นนุ่มที่ด้านนอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ คาร์เพลเชื่อม 2 อัน ผลแบบผลแตกแนวเดียว เป็นฝักคู่เชื่อมติดกัน รูปร่างเกือบตรง ห้อยลง กว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 6.5-30 ซม. ผิวฝักเกลี้ยง ไม่มีรูอากาศ เมล็ดรูปแถบกว้าง 1.5-2.5 มม. ยาว 1.2-1.5 ซม. มีกระจุกขนที่ปลายด้านหนึ่ง กระจุกขน ยาว 2-4 มม. พบตามป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 280 เมตร ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงสิงหาคม ติดผลราวเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย เปลือกต้น รสขมร้อน ฝาดเมา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้โรคไต ฆ่าเชื้อรำมะนาด เชื้อคุดทะราด แก้บิดมูกเลือด ใบ รสเย็น เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย แก้ตับพิการ แก้ท้องมาน ดอก รสจืด เป็นยาระบาย แก้พรรดึก(ท้องผูก) ผล รสเมา แก้ฟันผุ ฆ่าเชื้อรำมะนาด ราก รสร้อน รักษางูกัด แก้ลมที่เกิดเรื้อรัง เนื้อไม้หรือแก่น รสร้อนขม เป็นยาขับโลหิต กระพี้ บำรุงถุงน้ำดี น้ำยาง รสเมาเบื่อ แก้บิด ใช้แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีใช้ รากและเนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด ประเทศจีนใช้สารสกัดจากรากและใบ รักษาวัณโรคแรกเริ่มที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ และอาการปวดข้อจากโรคข้อรูมาติก เปลือกให้เส้นใยใช้ทำกระดาษ และใช้แทนเส้นใยจากฝ้าย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะค่าโมง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Afzelia xylocarpa Craib
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 30 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนคลุมบางๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบมนเว้าตื้นๆตรงกลาง ฐานใบมนหรือตัด ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม รสเบื่อเมา เป็นยาถ่ายพยาธิ และรักษาโรคผิวหนัง หรือต้มเอาไอรมหัวริดสีดวงทวารทำให้แห้ง เปลือกต้น ผสมกับเปลือกต้นมะค่าแต้อย่างละครึ่งกำมือ ใช้เป็นยาประคบ แก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากเจตพังคีอย่าละครึ่งกำมือ เป็นยาสมานแผล เปลือกต้นและราก ใช้รักษาโรคผิวหนัง เมล็ดอ่อน รับประทานสด หรือต้มให้สุก เมล็ดแก่ นำมาคั่ว และกะเทาะเปลือกออกแช่น้ำให้นิ่ม รับประทานได้ มีรสมัน เปลือกให้น้ำฝาด ใช้ฟอกหนัง ลำต้น ใช้รักษาโรคผิวหนัง พยาธิ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะค่าแต้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Teijsm.ex Miq.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-25 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดแผ่ทรงเจดีย์ ต่ำ ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน 3-4 คู่ แผ่นใบย่อยรูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 เซนติเมตรปลายและโคนมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ดอก เล็ก สีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปโล่ กว้าง 4-9 เซนติเมตร ผิวฝักมีหนามแหลมแข็ง เมื่อแก่แตก เมล็ด มี 1-3 เมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกใช้ต้มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า ปุ่มที่เปลือกมีรสเมาเบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พยาธิ ส่วนเมล็ดมีรสเมาเบื่อสุขุมเป็นยาขับพยาธิเชนกัน (ปุ่มเปลือก,เมล็ด)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะกล่ำต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonina  L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น  ผลัดใบ  สูง  10 – 20  เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่ม  ยอดอ่อนมีขนนุ่มเป็นมัน  เปลือกต้นเรียบหรือแตกสะเก็ด  สีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลอ่อน  ใบ  ประกอบแบบขนนก  2  ชั้น  เรียงสลับ  มีก้านแขนง  2 – 6 คู่  ก้านแขนงแต่ละก้านมีใบย่อย  7 – 15  คู่  แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนาน  กว้าง  0.6 – 1.5  เซนติเมตร  ยาว  2 – 3.5  เซนติเมตร  ปลายและโคนมน  ดอก  เล็ก  สีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน  ออกเป็นช่อคล้ายหางกระรอก  ผล  เป็นฝักแบนบิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ  กว้าง  1.2  เซนติเมตร  ยาว  12 – 20 เซนติเมตร  เมื่อแก่แตก  เมล็ด  สีแดง  รูปโล่  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  5 – 8 มิลลิเมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ใบ รสฝาดเฝื่อน ต้มกินแก้ปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ แก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมาน บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงและบิด เมล็ดและใบ รสเฝื่อนเมา แก้ริดสีดวงทวาร เมล็ด รสเฝื่อนเมา บดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเม็ด กินแก้จุกเสียด แก้หนองใน เมล็ดบดพอกดับพิษฝี บดเป็นผงโรยแผลฝีหนอง ดับพิษบาดแผล ฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ เมล็ดใน รสเมาเบื่อ บดเป็นผง ปั้นเม็ด กินขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก บดเป็นผงผสมกับยาระบายใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวตืด เนื้อไม้ รสเฝื่อน ฝนกับน้ำทาขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน ราก รสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้ขับเสมหะ แก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง แก้สะอึก แก้ลมในท้อง แก้ร้อนใน แก้อาเจียน ถอนพิษฝี
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น สูง 8-12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้างปลายลู่ลง ใบ เดี่ยว ขนาดเล็ก เรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ ดอก เล็กมาก สีขาวหรือนวล ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ผล กลม อุ้มน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ผล รสเปรี้ยว ฝาด ขมชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้ามและกระเพาะ รับประทาน แก้กระหายน้ำ แก้คอตีบ แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้พิษ แก้หวัด เป็นไข้ตัวร้อน แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เจ็บคอ คอแห้ง และใช้สำหรับผู้ขาดวิตามินซี ผลอ่อน รสเปรี้ยวหวานฝาดขม บำรุงเนื้อหนัง กัดเสมหะ บำรุงเสียง แก้ท้องผูก แก้พยาธิ ผลแก่ รสเปรี้ยวฝาด ขมเผ็ด แก้ไข้เจือลม แก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ ขับปัสสาวะ ระบายท้อง บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต แก้ลม แก้โรคลักปิดลักเปิด มีวิตามินซีสูงกว่าส้มประมาณ 20 เท่า ผลแห้ง ต้มสกัดเอาน้ำมาใช้แก้ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด แก้หวัด ตัวร้อน มีอาการไอ เจ็บคอ และกระหายน้ำ เนื้อผล ใช้ทาบนศีรษะ แก้อาการปวดหัว และแก้วิงเวียนจากอาการไข้ขึ้นสูง แก้สะอึก ขับพยาธิ เนื้อผลแห้ง รสเปรี้ยวฝาดขม เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร แก้บิด ท้องเสีย ใช้ร่วมกับธาตุเหล็กแก้ดีซ่าน ช่วยย่อยอาหาร ยางจากผล รสเปรี้ยวฝาดขม หยอดแก้ตาอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ น้ำคั้นผล ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นยาระบาย แก้เสียดท้อง ขับปัสสาวะ หยอดตา รักษาเยื่อตาอักเสบ เมล็ด แก้โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ราก รสจืดฝาด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อม้าม ใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง แก้ปวดกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ ต้มดื่มแก้ไข้ แก้พิษไข้ แก้พิษโลหิต รักษามะเร็งลาม ทำให้เส้นเอ็นยืด ฟอกโลหิต ทำให้อาเจียน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน แก้พิษตะขาบกัด เปลือกราก ห้ามเลือด สมานแผล ใบ รสฝาด ขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาแก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ใช้ทาแก้โรคผิวหนังผื่นคัน มีน้ำเหลือง แก้บิดมูกเลือด แก้ฝี แก้ความดันโลหิตสูง ต้มอาบลดไข้ ดอก รสหอมเย็น ใช้ลดไข้ และช่วยเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะนาว ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาเย็นและระบายท้อง เปลือกต้น รสฝาดขม สมานแผล แก้บาดแผลเลือดออก แก้บิด แก้บาดแผลฟกช้ำ แก้ท้องร่วง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะเกลือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปไข่หรือรีเรียงตัวแบบสลับ ปลายใบสอบเข้าหากัน โคนใบกลม หรือมน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หนึ่งช่อมี 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 ซม. โครกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ สีเหลืองเรียนเวียนซ้อนทับกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ ราก - ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะพลับ
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ  ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
สรรพคุณ/ประโยชน์ น้ำจากผล แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ - ผล แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะค่า
ชื่อวิทยาศาสตร์  Afzelia xylocarpa Craib
ลักษณะสำคัญ มะค่าโมงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงถึง 30 เมตร ใบ เป็นใบประกอกบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบย่อยมี 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกมีสีชมพู 1 กลีบ ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งหนามีสีน้ำตาล เมล็ดแข็งสีน้ำตาล มีหมวกสีเหลืองปิดที่ขั้ว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม จะมีรสเบื่อเมา ใช้ในการถ่ายพยาธิและรักษาโรคผิวหนัง หรือต้มเอาไอรมหัวริสีดวง ทวารทำให้แห้ง เปลือกต้น ผสมกับเปลือกต้นมะค่าแต้ อย่างละครึ่งกำมือทำเป็นยาประคบแก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากพังคีอย่างละครึ่งกำมือ เป็นยาสมานแผล เนื้อไม้นำมาแปรรูปใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะม่วงป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera caloneura Kurz.
ลักษณะสำคัญ ไม้ยืนต้น ส่วนของต้นมีน้ำยางข้น ใบเรียงแบบสลับหรือเวียนกัน โดยก้านใบมักพองออกเล็กน้อย ช่อดอกช่อกระจุก (cyme) หรือช่อแยกแขนง (panicle) ออกที่ปลายยอดหรือช่อกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบติดที่ฐาน กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน รสเปรี้ยว
สรรพคุณ/ประโยชน์ มะม่วงป่า ส่วนที่ใช้ในการย้อมสีเส้นไหมคือ เปลือกต้นด้านใน ลอกเอาเฉพาะปลือกต้น นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อสกัดน้ำสีด้วยวิธีการต้มแบบน้ำ ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1 : 2 นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาน้ำสีที่ได้ย้อมเส้นไหม เปลือกสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม สีของเส้นไหมที่ผ่านการย้อม ได้สีน้ำตาลอ่อน จากนั้นนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมแช่ในสารละลายช่วยติดสี สารส้ม ได้สีเหลืองอ่อน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะยม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus [L.] Skeels
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม  เปลือกไม้แข็ง  เป็นปุ่มปม  เนื้ออ่อน  ใบเดี่ยวรูปไข่  เรียงสลับกันบนกิ่งเล็กเรียว  ดอกเล็กๆสีชมพู  เป็นช่อเล็กๆ ผลกลมเป็นพูรอบ ออกเป็นพวง เมล็ดเดี่ยวกลมแข็ง ต้นตัวผู้ไม่ติดผล แพทย์นิยมใช้มะยมตัวผู้ทำยา มีทั้งมะยมเปรี้ยวและมะยมหวาน ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบมีรสจืดมัน  ปรุงเป็นยาดับพิษร้อน  ถอนพิษไข้  ต้มรวมกับต้นหมากผู้หมากเมีย - ใบมะยมใช้อาบแก้ผื่นคัน พิษไข้หัว หัด ฝีดาษ - เลือกต้นมีรสจืด ต้มดื่มแก้ไข้เพื่อโลหิต ต้มอาบแก้เม็ด ผด ผื่น คัน - รากมีรสจืด ปรุงเป็นยารับประทาน แก้โรคผิวหนัง ผด ผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย - ลูกมีรสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มะฮอกกานี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Swietenia macrophylla  King
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 15 - 25 เมตร  ผลัดใบ  เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก  ทรงพุ่มทึบ  ลำต้นเปลาตรง  เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม  เนื้อละเอียดเหนียว  ลวดลายสวยงาม  เมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้  เนื้อไม้แข็ง  มีคุณภาพดี  สามารถใสกบและตกแต่งได้ง่าย  ยึดตะปูได้ดี  คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก  ทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวก  เมล็ดรสขมมาก - เปลือก สีน้ำตาลอมเทา หนาขรุขระ แตกเป็นร่องตามทางยาวของลำต้น และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ - ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร ยาว 11 - 17 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร - ดอก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.5 - 1.0 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน สีแดง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแผ่แบนคล้ายร่ม - ผล ผลเดี่ยวขนาดใหญ่ กลม รูปไข่ ปลายมนเป็นพูตื้น ๆ สีน้ำตาล เปลือกหนาและแข็ง กว้าง 7 - 12 เซนติเมตร ยาว 10 - 16 เซนติเมตร ก้านผลแข็ง เมื่อแก่แตกออกเป็น 5 พู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก - เมล็ด แห้งสีน้ำตาล แบนบาง มีปีกบาง ๆ กว้าง 1.0-1.2 เซนติเมตร ยาว 5.0-5.5 เซนติเมตร ปลิวไปตามลมได้
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อไม้ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี และเครื่องใช้อื่น ๆ เปลือกต้นต้มเป็นยาเจริญอาหาร  มีแทนนินมาก  รสฝาด  ใช้เป็นยาสมานแผล ยาแก้ไข้  เนื้อในฝักเป็นยาระบาย เนื้อในเมล็ดมีรสขมมาก ใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น  ไข้พิษ และปวดศีรษะ ใบอ่อนและดอกรับประทานได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มังกรคาบแก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum thomsoniae Balf.f.
ลักษณะสำคัญ ไม้เถาเลื้อย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาว โคนเชื่อมติดกันคล้ายถุง ปลายสอบเข้าหากัน กลีบดอก 5 กลีบ สีแดง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแผ่แบน - ถิ่นกำเนิด แอฟริกาตะวันตก - ออกดอก ตลอดปี - การปลูกเลี้ยง ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดปานกลางถึงร่มรำไร น้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ มันปลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans
ลักษณะสำคัญ ลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ยมหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chukrasia velutina Wight & Arm
ลักษณะสำคัญ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวย เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ยางนา
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ยาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus alatus Roxb. ex 
ลักษณะสำคัญ ยางเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 40 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทาปนขาว โคนต้นเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ รูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 8-15 ซม. ยาว 20-35 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน เนื้อใบหนา ดอกสีชมพู ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็น รูปถ้วย และมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลีบ 5 กลีบ ปลายกลีบบิดเบี้ยวแบบกังหัน เกสรตัวผู้ จำนวนมาก ผล รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 ซม. มีครีบยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก สั้น 3 ปีก ปีกยาวมี เส้นตามยาว 3 เส้น เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยางเป็นไม้หวงห้าม นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้าง คนอีสานใช้น้ำมันจากต้นยางทำขี้กะบอง (ขี้ใต้จุดไฟ) ในทางสมุนไพรน้ำมันจากต้น ใช้ใส่แผล แก้โรคเรื้อน หนองใน น้ำมันผสมกับชันใช้ทาไม้ เครื่องจักรสาน ยาเรือ และใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ไม้แปรรูปใช้ทำฝาบ้านเรือน เครื่องเรือน เรือขุดและเรือขนาดย่อม แจว พาย กรรเชียง ใช้ทำไม้อัด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ รัง
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ลำดวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
ลักษณะสำคัญ ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกสีเทา ผิวเรียบ ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ และแน่นทึบ ลำต้นตรง แตกกิ่งใบ จำนวนมาก เมื่อลำต้นแก่เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามแนวยาวลำต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียวสด ยอดอ่อนและใบอ่อนมีสีแดง ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้มเป็นมัน โคนใบและปลายใบแหลมหรือสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นกลางใบสีออกเหลืองนูนเด่นทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.5-0.7 เซนติเมตร ดอกเดี่ยว หรือช่อกระจุก 2-3 ดอก ออกตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง สีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง สีเขียวปนเหลือง มีขนนุ่ม แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบน รูปสามเหลี่ยมมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกวงใน โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 1.2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในงุ้มเข้าหากันเป็นรูปโดม ขนาดเล็กกว่า แต่หนาและโค้งกว่า กว้างราว 0.6 เซนติเมตร ยาวราว 0.9 เซนติเมตร ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีขนาดเล็ก เกสรเพศผู้และรังไข่มีจำนวนมากอยู่บนฐานสั้นๆ รังไข่ ไม่มีขน กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนาดเล็ก รูปเกือบกลม ปลายกลีบมน เกลี้ยงหรือมีขนประปราย ก้านดอกยาว 2.5 เซนติเมตร ผลกลุ่ม มีผลย่อย 15-20 ผล ก้านผลยาว ผลรูปทรงกลมรีสีเขียว ขนาด 6-8 มิลลิเมตร เมื่อแก่สีแดง และผลสุกมีสีน้ำเงินดำ ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด ผลรับประทานได้มีรสหวานอมเปรี้ยว พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ติดผลราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้และดอกแห้ง ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม วิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ไข้ ตำรายาไทย ดอก มีกลิ่นหอม รสเย็น จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 9 ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม แก้ไข้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ลำดวน
ชื่อวิทยาศาสตร์  Melodorum fruticosum Lour. 
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นชนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลเข้ม เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวลำต้น - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบเกลี้ยง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวนวล - ดอก (Flower) สีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบหรือตอนปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาด เล็ก 3 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 6 กลีบ หนามีขนนุ่ม ชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2..5 เซนติเมตร - ผล (Fruit) ผลสดแบบมีเนื้อ ออกเป็นกลุ่มมีมากถึง 27 ผล ผลย่อยทรงกลมหรือไข่ ขนาด 1-1.2 เซนติเมตร ผลสุกสีดำปนม่วง มีคราบขาว ก้านผลยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มี 1-2 เมล็ด
สรรพคุณ/ประโยชน์ ผลมีรสหวานรับประทานได้ ดอกแก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ วาสนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena fragrans (L.) Ker-GawI.
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่ม สูง 5-10 ม. ลำต้นกลมจะไม่มีกิ่งก้านสาขา แต่จะมีข้อติดๆ กัน - ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายยอด ใบเดี่ยว รูปหอกเรียวยาวโค้งลงสู่พื้นดิน กว้าง 6-10 ซม. ยาว 30-120 ซม. โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายใบแหลมงองุ้มลง ขอบใบเรียบหรืออาจบิดเป็นลอน ใบอาจมีสีเขียวเข้มหมดทั้งใบ หรือสีขาวอมเขียวหรือลายเหลืองนวลหรือลายขาวนวล ตลอดความยาวใบมีความเข้มของลายแตกต่างกัน ตำแหน่งของลายอาจอยู่กลางใบหรือริมใบ - ดอก ดอกช่อขนาดใหญ่ มีสีชมพูอ่อนถึงขาว ช่อดอกยาว 40-60 ซม. ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ใบประดับแห้งสีขาว มีดอกย่อยจำนวนมาก บานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. กลิ่นหอมแรง ดอกบานช่วงกลางคืน ฤดูออกดอกอยู่ในช่วงกลางหรือปลายฤดูหนาว ซึ่งจะออกดอกหลังจากวันที่มีความหนาวมากที่สูดเป็นตัวกระตุ้น เกสรเพศผู้ 6 อัน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ แก้ปวดท้อง - ราก บรรเทาอาการปวดในการคลอดบุตร
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ศรีตรัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jacaranda obtusifolia Humb.& Bonpl
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก
สรรพคุณ/ประโยชน์ อยู่ในระหว่างศึกษาข้อมูล
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เศรษฐีเรือนนอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chlorophytum bichetii (Karrer) Backer.
ลักษณะสำคัญ ไม้คลุมดิน ลำต้นเป็นเหง้าสั้นๆอยู่ใต้ผิวดิน แตกใบขึ้นเป็นพุ่ม รากมักจะมีตุ้มสีขาวสำหรับเก็บสะสมอาหารและน้ำ - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแน่น ใบรูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1.6 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมันมีแถบขาวครีมบริเวณขอบใบ เมื่อใบยาวเต็มที่แล้วจะห้อยโค้งลงมา - ดอก (Flower) สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะจากกอ ช่อดอกยาว 10-15 เซนติเมตร ช่อละ 3-4 ดอก ดอกขนาดเล็ก - ผล (Fruit) ผลแห้งแตก ขนาด 7-10 มิลลิเมตร สีขาว เมล็ดสีดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ สรรพคุณในทางคุ้มครองป้องกันภัยแล้ว ยังถือเป็นว่านเสี่ยงทาฐานะหากว่านเจริญงอกงามผู้เลี้ยงก็จะมีฐานะเจริญรุ่งเรืองด้วย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เศรษฐีวิลสัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia
ลักษณะสำคัญ ศรษฐีวินสัน เป็นไม้ประดับอยู่ในตระกูลสาวน้อยประแป้ง แต่มีลำต้นและใบใหญ่กว่าเพื่อนร่วมสกุลมาก เป็นต้นไม้พื้นเพจากต่างประเทศรดน้ำวันละครั้ง หรือ 2-3 วันครั้งก็ได้ ชอบอยู่ในร่มหรือกึ่งร่มกึ่งแดด หรือรำไร ไม่ต้องดูแลมาก ใบไหนเหี่ยวตัดออกได้มันจะงอกใบใหม่ แต่ถ้าต้องการให้ต้นใหญ่ก็ลงกระถางใหญ่ๆ หรือลงดินแต่จะดูแลยากเพราะต้นจะใหญ่มาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกประดับบ้าน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เคี่ยม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium melanoxylon Pierre
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมน หลังใบเรียบมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีขนนุ่มปีกขาว 1 คู่
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกใช้เป็นยาชะล้างแผล ห้ามเลือดแผลสดชันเป็นยาสมานแผล
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คริสติน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium australe ( J.C. Wendl.ex Link) B.Hyland
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่  สูง 2-5 เมตร  ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน  ใบเดี่ยว  ออกตรงข้าม  รูปใบหอก  ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบสอบ  กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม  ใบอ่อนสีแดงเป็นมัน  ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายยอด  ดอกสีขาว  ออกดอกในเดือนมกราคมถึงมีนาคม  รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ  เกสรตัวผู้จำนวนมาก  ผลยาวรีสีแดงคล้ายชมพู่  ยาว 2 เซนติเมตร สภาพปลูก เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกเป็นกลุ่ม  แต่ควรตัดแต่งทรงพุ่มบ่อยๆ เพื่อให้ต้นแตกยอดอ่อนสีแดง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คำมอกหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia sootepensis Hutch
ลักษณะสำคัญ ต้นคำมอกหลวง หรือ ต้นคำมองช้าง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่ดอยสุเทพ สามารถพบได้ตั้งแต่พม่า ไทยและลาว ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก ลำต้นมีความสูงของต้นประมาณ 7-15 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมและโปร่ง เรือนยอดโปร่ง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งน้อย (บ้างว่าแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง) กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีครีมอ่อนหรือสีเทาถึงสีเทาเข้ม แตกเป็นสะเก็ด หลุดออกมาเป็นแผ่นบางๆ และมียางเหนียวสีเหลืองข้นเป็นก้อนที่ปลายยอด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพะเมล็ด เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ และตามป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-400 เมตร - ใบคำมอกหลวง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก โดยออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือเป็นรูปไข่กลีบ ปลายใบแหลมหรือมนมีหางสั้นๆ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-28 เซนติเมตร โดยใบอ่อนจะเป็นสีชมพูอ่อนถึงสีแดง มีขนสีเงิน ส่วนใบแก่หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีขนละเอียด แผ่นใบหนาแข็งและกรอบ มีเส้นใบข้างประมาณ 16-20 คู่ มีลักษณะตรงและขนานกันและโค้งมาจรดกันที่ขอบใบ มองเห็นเส้นแขนงใบได้ชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีหูใบเป็นปลอกรอบกิ่ง โดยหูใบจะอยู่ระหว่างก้านใบ และหลุดร่วงได้ง่ายและจะทิ้งรอยแผลกลมเป็นตุ่มตารูปกรวยกว้างไว้ และที่ยอดอ่อนจะมีน้ำยางคล้ายขี้ผึ้งสีเหลืองหุ้มไว้อยู่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน - ดอกคำมอกหลวง ออกดอกเดี่ยว โดยจะออกดอกที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองเข้ม มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดกลีบดอกมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบ ปลายแยกเป็น 5 พู และแผ่ออก ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร บิดเป็นเกลียว ในดอกตูมก้านดอกจะมีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอกจะเป็นสีขาวนวลเมื่อแรกบาน แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดภายหลัง ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่มีก้านชู เรียงสลับกับกลีบดอกบนปากหลอด และโผล่พ้นปากหลอดกลีบดอกออกมาเพียงเล็กน้อย ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน ที่ปลายของเกสรจะมีลักษณะคล้ายกระบอง ก้านเกสรเพศเมียจะยาวโผล่พ้นปาดหลอดของกลีบดอก ส่วนอับเรณูมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน รังไข่จะอยู่ใต้วงกลีบมี 1 ช่อง และมีออวุลจำนวนมาก ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอดขนาดยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 2 แฉก ปลายเป็นพูเล็กๆ ด้านหนึ่งแยกลึก ส่วนด้านนอกมีขนละเอียดเหนียวๆ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม - ผลคำมอกหลวง ผลเป็นผลสดมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี รูปไข่ รูปกระสวยแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปขอบขนาน ผลมีติ่งที่ปลายและสันตื้นๆ ประมาณ 5-6 สัน ผลเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ที่ผิวมีปุ่มหูดกับช่องอากาศ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.8-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.2-4 เซนติเมตร ภายในผลมีเนื้อและเมล็ดจำนวนมาก โดยจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก่นนำไปใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (แก่น) - เนื้อไม้ใช้เข้ายากับโมกเตี้ยและสามพันเตี้ย ใช้ต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้บิด และถ่ายเป็นมูกเลือด (เนื้อไม้) - แก่นคำมอกหลวง ใช้ผสมกับแก่นมะพอก นำมาต้มรวมกันให้หญิงอยู่ไฟใช้อาบและสระผม (แก่น) - เมล็ดคำมอกหลวงนำมาต้มเคี่ยวกับน้ำใช้ผสมเป็นยาฆ่าเหา (เมล็ด)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คุณนายตื่นสาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Portulace grandiflora
ลักษณะสำคัญ ไม้ดอกในสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มต้นเตี้ย การเจริญเติบโตค่อนไปทางเลื้อย ใบมีลักษณะอวบน้ำเป็นแท่งรูปเข็มยาวประมาณ 1 นิ้ว สีเขียวอ่อนเป็นมัน ออกดอกและบานพร้อม ๆ กัน ดอกจะมีขนาดประมาณ 1-2.5 นิ้ว แล้วแต่พันธุ์ กลีบดอกบางมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนหลายสี เช่น สี ม่วงอ่อน บานเย็น ส้ม แดง ขาว เหลือง ชมพู
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ คูณชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula x Cassia bakeriana หรือ Cassia fistula x Cassia javanica
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่มขนาดกลาง  เมื่ออยู่กลางแจ้งจะมีทรงพุ่มกลมโปร่ง
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ แคนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stereospermum serrulatua DC
ลักษณะสำคัญ ต้นแคนา หรือ ต้นแคป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของลำต้นได้ถึง 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทา และอาจมีจุดดำประ ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็กๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำราก โดยสามารถพบต้นแคนาได้ตามป่า ตามทุ่ง ตามไร่น่า และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป - ใบแคนา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันประมาณ 3-5 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นแบบซี่ฟันตื้นๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่ประปรายบนก้านใบ ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร - ดอกแคนา ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรสีขาว โดยจะออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-10 ดอก กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กและโค้งยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร หุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจะมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอกติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร ส่วนหลอดกลีบดอกจะยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร ส่วนโคนจะแคบเป็นหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนจะบานออกคล้ายกรวยเป็นสีขาวแกมสีขมพู แฉกกลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ที่ขอบกลีบจะย่นเป็นคลื่นๆ ดอกเป็นสีขาว ดอกตูมเป็นสีเขียวอ่อนๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน ติดอยู่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยก มีขนาดสั้น 2 อัน และยาว 2 อัน และยังมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันอีก 1 อัน มีรูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายเส้นด้ายมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีเทาดำ และจานฐานดอกเป็นรูปเบาะ เป็นพูตื้นๆ และมีเกสรตัวเมียอยู่ 1 อัน โดยดอกแคนาจะค่อยๆ บานทีละดอก ดอกมีกลิ่นหอม ดอกบานในตอนกลางคืน และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน - ผลแคนา ผลเป็นฝัก ออกฝักช่อละประมาณ 3-4 ฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ฝักมีความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร ส่วนเมล็ดเป็นรูปสีเหลี่ยม ยาวประมาณ 2.2-2.8 เซนติเมตร รวมปีกบางใส
สรรพคุณ/ประโยชน์ รากมีรสเย็น สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต (ราก) - แคนา สรรพคุณของเมล็ดใช้เป็นยาแก้อาการปวดประสาท (เมล็ด) - ช่วยในการนอนหลับ (ดอก) - ช่วยแก้โรคชัก (เมล็ด) - ช่วยแก้ไข้ลมหัวได้เช่นเดียวกับดอกแคบ้าน (ดอก) - ใบนำมาต้มกับน้ำเป็นยาบ้วนปาก (ใบ) - ดอกมีรสหวานเย็น ใช้เป็นยาขับเสมหะ โลหิต และลม (ดอก) - ช่วยแก้แก้เสมหะและลม (ราก) - ใช้ต้มรับประทานแก้อาการท้องร่วง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร (เปลือกต้น) - ช่วยขับผายลม (ดอก) - ช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น (ดอก) - ช่วยแก้พยาธิ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ช่วยแก้ริดสีดวงงอก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ช่วยแก้อาการตกเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ใบใช้ตำพอกรักษาแผล (ใบ) - ช่วยแก้ฝีราก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) - ใช้เป็นยาแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สีเสียดแก่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu Willd
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดโปร่งลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไป
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้โรคท้องร่วง บิด แก้อ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เสลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดกลมทึบ กิ่งห้อยลง ใบเป็นใบเดี่ยว
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สาธร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia leucantha Kurz
ลักษณะสำคัญ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สุพรรณิการ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum
ลักษณะสำคัญ เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาบำรุงกำลัง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สารภี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis
ลักษณะสำคัญ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบมียางสีขาว ใบเป็นใบเดียวเรียงตรงข้าม
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นยาแก้ร้อนใน บำรุงปอด บำรุงหัวใจ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ โสกเหลือง (ศรียะลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Saraca thaipingensis Cantley ex King
ลักษณะสำคัญ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลม
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สารภีทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calophyllum inophyllum L.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้น สูง 8-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ไม่เป็นระเบียบ ลำต้นค่อนข้างสั้น และมักบิดแตกเป็นกิ่งใหญ่ๆ จำนวนมากทั้งในแนวตั้งและแนวนอน หรือห้อยลง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา หรือค่อนข้างดำ ลำต้นแก่จะแตกเป็นร่อง ภายในมีน้ำยางมากสีเหลืองใส แก่นไม้สีน้ำตาลอมแดง ตายอดเป็นรูปกรวยคว่ำ มีขนสีน้ำตาลปนแดงประปราย ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีถึงไข่กลับ กว้าง 4.5-8 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายใบมนกว้าง และมักหยักเว้าตรงกลางเล็กน้อย โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา เกลี้ยง หลังใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า เส้นใบมองเห็นไม่ชัดเจน มีเส้นใบถี่มาก และขนานกัน ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และปลายกิ่ง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ยาว 2.7-10 มิลลิเมตร ชั้นนอกรูปร่างกลม ค่อนข้างหนา เกลี้ยง ชั้นในรูปไข่กลับ คล้ายกลีบดอก กลีบดอกมี 4 กลีบ กว้าง 7-8 มิลลิเมตร ยาว 9-12 มิลลิเมตร รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน ขอบงอ เกสรเพศผู้สีเหลืองมีจำนวนมาก รังไข่ค่อนข้างกลม สีชมพู ก้านเกสรเพศเมียยาว ผล ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งแหลม ผิวเรียบ สีเขียว เปลือกค่อนข้างหนา ผลสดสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม เมล็ดเดี่ยว มักขึ้นตามป่าใกล้ชายทะเล ป่าดงดิบ พบมากทางภาคใต้
สรรพคุณ/ประโยชน์ ตำรายาไทย ใช้ ดอก รสหอมเย็น เข้ายาบำรุงหัวใจ ปรุงยาหอม ราก เป็นยาใช้ล้างแผล เปลือกต้น ทำยาต้มเป็นยาขับปัสสาวะในโรคหนองใน ทาภายนอกแก้บวม ต้นและเปลือกต้น ให้ยางใช้สำหรับทาแผล เป็นยาฝาดสมานพอกทรวงอกแก้วัณโรคปอด กินจะทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย ใช้แต่งกลิ่น ขับปัสสาวะ ใช้ภายนอกสำหรับล้างแผลอักเสบเรื้อรัง ใบ รสเมาเย็น แก้ตาแดง ตาฝ้า ตามัว ใบใช้เบื่อปลา ถ้านำมาแช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืนจะได้น้ำที่มีสีน้ำเงิน น้ำคั้นจากใบเป็นยาฝาดสมานภายนอกใช้กับโรคริดสีดวงทวาร เมล็ด ให้น้ำมันและยางอยู่รวมกัน แยกน้ำมันออกมาใช้ทาถูนวดแก้ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก บวม สมานแผล แก้ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง แก้เหา แก้หิด กลาก น้ำมันจากเมล็ดทำให้บริสุทธิ์ กินแก้โรคหนองใน ทั้งต้น รสเมา ใช้เบื่อปลา
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สนสามใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pinus kesiya Royle ex Gordon
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนล่อนเป็นสะเก็ด มียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกันเป็นกลุ่มละ 3 ใบ ออกเป็นกระจุกเวียนสลับถี่ตามปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผลออกรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ยาง กลั่นเป็น้ำมัน และชันน้ำมันใช้ผสมยาถูนวด แก้ปวดเมื้อยชันผสมยารักษาโรค แก่น ต้มน้ำดื่ม รักษาฌรคทางเดินปัสสาวะ แก้เหงือกบวมแก้บิดท้องร่วง ปวดท้อง ผสมสมุนไพรอื่น ต้มอบไอน้ำ ช่วยบำรังกำลัง สำหรับคนติดฝิ่น
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สะเดาเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือก ต้มทำยาแก้บิด หรือท้องร่วง ดอกอ่อนนำมารับประทานเป็นผักได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris
ลักษณะสำคัญ สัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อๆ ละ 6-9 ใบ รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายทู่กลม หรือเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว แกมเหลือง ผลเป็นฝักออกเป็นคู่ รูปกลมยาว
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกต้น ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้ การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis Linn.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 50 เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อน ส่วนที่ยังอ่อนมีขน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็กๆ สีแดง ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยงขยายตัวหุ้มผลไว้ด้านใน
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สิรินธรวัลลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ ส้านชะวา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dillenia suffruticosa (Griff.) Martelli
ลักษณะสำคัญ ส้านชะวาเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง ๑๐ เมตร เปลือกสีม่วงดำ ใบ ใบเดี่ยวออกสลับ รูปรีจนถึงรูปไข่กว้าง 8 - 15 เซนติเมตร ยาว 15 -30 เซนติเมตร ปลายกลม หรือมน โคนมน มีครีบและยกตั้งดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ยอด 4 - 5 ดอก บางครั้งมีถึง 18 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปช้อนเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผล รูปกลม แป้น กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีส้มหรือแดง แตกเป็น 6 แฉก เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศบรูไนดาลุสซาลาม มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศมาเลเซีย
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สารภี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis Kosterm.
ลักษณะสำคัญ สารภีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 – 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกสีเทาปนดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลแดง มียางขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง - ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน เรียงตามข้าม ขนาดกว้าง 4 – 6.5 ซม. ยาว 14 – 20 ซม. เนื้อใบหนา ปลายมนกว้าง ๆ บางทีอาจมีติ่งสั้น ๆ หรือหยักเว้าตื้น ๆ โคนใบสอบเรียว เส้นแขนงใบไม่ปรากฏแต่เห็นเส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน - ดอก สีขาว ออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกตามกิ่ง กลิ่นหอมมาก กลีบรองกลีบดอกมี 2 กลีบ กลีบบนเป็นกระพุ้ง โคนกลีบเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีลักษณะเดียวกันแต่มี 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีมาก รังไข่มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน จำนวน 2 ปลาย หลอดรังไข่แยกเป็น 3 แฉก ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน - ผล เป็นรูปกระสวย ยาวประมาณ 2 – 5 ซม. กลีบรองกลีบดอก….เป็นกาบหุ้มที่ขั้วผล - ลักษณะเนื้อไม้ สีน้ำตาลปนแดง เสี้ยนตรง ถี่และสม่ำเสมอ เนื้อละเอียด แข็ง ค่อนข้างทนทาน เลื่อย ผ่า ไส้กบ ตบแต่งง่าย ความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.91
สรรพคุณ/ประโยชน์ การนำไม้สารภีมาใช้ประโยชน์ยังมีน้อยและค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางด้านการแพทย์ ประโยชน์ที่สำคัญของไม้ชนิดนี้ได้แก่ เนื้อไม้ ใช้ทำเสากระดานพื้น ฝา รอด ตง ฯลฯ ดอก ปรุงเป็นยาหอมสำหรับแก้ร้อนใน ชูกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท แก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย ผล มีรสหวานรับประทานได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สาละ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นชนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด - ใบ (Foliage) ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา - ดอก (Flower) สีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร - ผล (Fruit) ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกเเข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็น มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่
สรรพคุณ/ประโยชน์ สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สำโรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia foetida L.
ลักษณะสำคัญ ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นกลมตรง ใบประกอบรูปนิ้วมือ มีใบย่อยรูปหอก 5 ใบ ดอกออกเป็นช่อโต มีกลิ่นเหม็น ผลเป็นฝักแบนโต เมล็ดแข็งสีน้ำตาลดำ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือกฝัก ปรุงเป็นยาเนาวหอย แก้โรคไตพิการ แก้ลำไส้พิการ แก้ปัสสาวะพิการ เปลือกต้น กล่อมเสมหะและอาจม แก้บิด
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ สิบสองปันนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix roebelenii O'Brien
ลักษณะสำคัญ  สิบสองปันนาเป็นปาล์มในตระกูลอินทผาลัม  เชื่อกันว่าสิบสองปันนาต้นเดิมที่เป็นปาล์มนั้น  เป็นต้นอินทผาลัมที่ไม่มีหน่อ  สิบสองปันนาเป็นปาล์มที่มีลำต้นเดี่ยวโดดๆ สูงประมาณ 1.8 เมตร ใบเป็นใบแบบขนนก ทางใบยาว 1 ฟุต ถึง 1.5 ฟุต โค้งงอลงด้านล่าง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนใต้ใบจะมีสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายกันแป้งเคลื่อนที่อยู่
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับสวนทั่วไป
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หมัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordia cochinchinensis Pierre
ลักษณะสำคัญ เปลือกต้นสีเทาคล้ำใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่
สรรพคุณ/ประโยชน์ -
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium Cumini
ลักษณะสำคัญ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามแผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื้อยคอเปื่อย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ เหลืองปรีดิยาธร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabebuia argentea Britt.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร ผลัดใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 4-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบหนา คล้ายหนัง สีเขียวเหลือบเงิน โคนและปลายใบมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปแตร ผลเป็นผลแห้งแตก สีเทา เมล็ดแบน มีปีก จำนวนมาก
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หน้าวัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium spp.
ลักษณะสำคัญ หน้าวัวเป็นไม้ค่อนข้างไปทางไม้เลื้อย เนื่ออ่อนการเจริญมีลักษณะเป็นกอต้นจะโตสูงทิ้งใบล่าง สูงได้ 80-100 ซม.ใบมีลักษณะเป็นรูปร่างต่าง ๆกัน แต่ส่วนมากมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ใบของหน้าวัวบางชนิดมีใบสวยงามมาก ลักษณะคล้ายกำมะหยี่ละเอียดเป็นมัน ปลายใบแหลม บริเวณใต้ใบเส้นใบนูนเป็นสันขึ้นมา ต้นหนึ่งมีใบ4-8 ใบ  เมื่อมีใบใหม่จะมีดอกเกิดขึ้นตามมาเสมอ ดอกหน้าวัวเกิดจากตาที่อยู่เหนือก้านใบ โดยทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าจานรองดอกคือตัวดอก ตัวดอกที่แท้จริงนั้นมีขนาดเล็กเรียงกันอยู่บนปลีซึ่งเป็นส่วนของก้านดอก ดอกแต่ละดอกจะมีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย แต่จะบานไม่พร้อมกัน เกสรตัวเมียจะบานก่อน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หมากเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ptychosperma macarthurii Nichols
ลักษณะสำคัญ เป็นพรรณไม้ปาล์มที่ลำต้นผอม  และเป็นข้อปล้องตรง  ลำต้นก็เกิดจากหน่อและสูงประมาณ 10-20  ฟุต มีสีน้ำตาลอมเขียวแต่เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เป็นใบไม้ร่วมเช่นเดียวกับมะพร้าว ลักษณะของใบต้นหมากเขียวนี้เป็นใบขนนก ทางใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยอยู่ประมาณ 40 ใบ และใบย่อยยาว 10 -15 นิ้ว ทางใบยาว 4 ฟุต ตรงโคนก้านทางใบจะเป็นกาบห่อหุ้มเอาไว้ มีเนื้อใบอ่อนและสีเขียวเข้ม ส่วนด้านใต้ใบสีเขียวอ่อน ออกดอกเป็นช่อคล้าย จั่นหมาก ขนาดของดอกเล็กมีสีเหลืองอมเขียว หรือสีขาวนวล ผลเป็นลูกกลมๆเล็ก มีสีเขียวอ่อน แต่พอแก่จะกลายเป็นสีแดง สดผลๆหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในเมล็ดหนึ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัดและจะเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง และทนต่อทุกสภาพสิ่งแวดล้อม
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หมากนวล
ชื่อวิทยาศาสตร์  Veitchia merrillii (Becc.) H.E. Moore
ลักษณะสำคัญ เป็นปาล์มต้นเดี่ยว  สูงได้ถึง  15  เมตร  ลำต้นสีน้ำตาล  ใบรูปขนนก  ช่อดอกสีขาวออกใต้คอ  ผลกลม    หมากนวลเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทปาล์มมีทรงพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตรการเจริญเป็นลำต้นเดี่ยวไม่มีหน่อ ลำต้นตรงสูง ผิวลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเป็นใบรวม แตกออกจากทางใบเป็นรูปขนตก เรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบลักษณะใบแคบยาว ขนาดใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 - 60 เซนติเมตรตัวใบมีสีเขียวเรียบเป็นมันทางใบยาวประมาณ 1-2 เมตรลักษณะโค้งเล็กน้อยโคนทางจะเป็นกาบหุ้มลำต้นมีสีเขียวอ่อนปนขาวนวลออกดอกเป็นช่อคล้ายจั่นหมากก้านดอกมีสีขาวนวลลักษณะของดอกมีขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากมีสีขาวอมเหลือง ผลเล็กกลมรีมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่เพียงเมล็ดเดียว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ผล สรรพคุณทางยา ผลของหมากนั้นมีสรรพคุณในการช่วยขับพยาธิได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากนี้แล้วหมากก็ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคมาเลเรีย และมีฤทธิ์ในด้านการเป็นยาที่ช่วยขับปัสสาวะอีกด้วย จากการวิจัยพบว่า หมากมีสารชื่อ อัลคาลอยด์ ที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อราและฆ่าเชื้อไวรัสอีกด้วย - ผล ทาง ตำรับยาแผนโบราณ หากนำเอาเนื้อของผลหมากและเมล็ดฟักทองมาต้มรวมกับน้ำตาลทราย ดื่มพร้อมกันน้ำก็จะช่วยในการขับพยาธิชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี หรือหากจะเอาผลหมากสุกมาต้มกินกับน้ำแล้ว จะช่วยป้องกันอาการของโรคต้อหินหรือความดันภายในลูกตาเพื่อไม่ให้สูงผิดปกติได้
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หอมเจ็ดชั้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarenna wallichii (Hook.f.) Ridl.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ชอบปริมาณแสงแดดตลอดวัน ไม่ผลัดใบ ออกดอกในช่วงหน้าหนาว ดอกมีกลิ่นหอม การเจริญเติบโตช้า
สรรพคุณ/ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ หางกระรอกแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acalypha hispida Burm.f.
ลักษณะสำคัญ ไม้พุ่ม    สูง 1-3 ม. - ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 7-15 ซม. ยาว 15-20 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย ผิวใบมีขน หลังใบสีเขียวอมน้ำตาล ท้องใบสีอ่อนกว่า มีหูใบแบบ - ดอก ดอกช่อสีแดงออกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศเมียห้อยลงคล้ายหางกระรอก ยาว 15-20 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก ไม่มีกลีบดอก มีแต่รังไข่และยอดเกสรเพศเมียที่เป็นพู่ห้อยลง - ผล ผลขนาดเล็ก เมื่อแก่แตกได้
สรรพคุณ/ประโยชน์ ราก แก้พิษงูกัด เปลือก ขับเสมหะ แก้หืด ใบ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ อบเชย
ชื่อวิทยาศาสตร์
ลักษณะสำคัญ
สรรพคุณ/ประโยชน์
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ อินทนิลน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างคลุมต่ำ เปลือกค่อนข้างเรียบ มีรอยด่างเป็นดวงสีขาวใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนานแกมวงรี กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 11-26 เซนติเมตร ปลายแหลมเป็นติ่งเล็ก โคนกลมหรือมน ดอกสีม่วงสด ม่วงปนชมพู หรือชมพู ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปถ้วยมีสันนูนตามยาวเห็นได้ชัดเจน และมีขนประปราย กลีบดอกบาน ขอบย้วย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเกือบกลม ผิวเกลี้ยง แข็ง ยาว 2-3 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามพูยาว 6 พู เมล็ดมีปีกจำนวนมาก ขึ้นตามที่ราบลุ่มบริเวณริมน้ำในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดงดิบทั่วไป ออกดอกเดือน มีนาคม-มิถุนายน
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก้เบาหวาน ขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไอ แก้ท้องเสีย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ อโศกอินเดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polylthia longifolia  (Benth) Hook. F. var.
ลักษณะสำคัญ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแคบสูงรูปพีระมิด กิ่งก้านลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาล มีขีดแคบยาวสีขาว - ใบ (Foliage) :    ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปใบหอกแคบ กว้าง 3- 5 เซนติเมตร   ยาว 15- 20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน- ดอก (Flower) :   สีครีมหรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อละ 3-6 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงเป็นรูปสามเหลี่ยมยาว 3-4 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปดาว 6 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-3.5 เซนติเมตร- ผล (Fruit) :  ผลสด เป็นแบบผลกลุ่ม รูปไข่กลับ กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 2-2.5 เซนติเมตร ผลแก่สีเหลืองอมเขียว มีเมล็ดเดียว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ต้นอโศก เป็นต้นไม้ยืนต้น ซึ่งถ้าอยู่ในวัดจะทำให้ได้ร่มเงา บริเวณ ทำให้บริเวณวัดดูร่มเย็น นอกจากนี้ การมีต้นอโศก ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์แก่สัตว์ต่างๆ อาทิเช่น นกที่มาอาศัยทำรัง หรือบางทีอาจมีกระรอก มาอาศัย รอมถึงแมลงต่างๆ ด้วย
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ อากาเว่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Agave  spp.
ลักษณะสำคัญ ลำต้นไม่มี แตกกอกลมความสูง 0.4 – 2 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 0.3 – 1 เมตร ใบ บางชนิดมีหนาม บางชนิดคล้ายหนวดไม่มีหนาม เรียงตัวเหมือนกลีบ กุหลาบ ดอก ช่อสูง 6 เมตร หรือกว่านั้น ดอกสีเหลืองเล็ก ๆ จำนวนมาก อากาเว่ มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งและการขาดน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการเจริญเติบโตยังช้าอีกด้วย กล่าวกันว่ากว่าที่อากาเว่จะออกดอกได้อาจต้องใช้เวลานับ 10 ปีเลยทีเดียว
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ เส้นใยทำเชือก กระเป๋าถือ เสื้อผ้า
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ อินทนิล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia macrocarpa
ลักษณะสำคัญ ต้น  เป็นไม้ต้น ผลัดใบสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เป็นไม้ทรงพุ่ม เปลือก ต้นสีน้ำตาล ผิวเปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้นให้ใบดก เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา - ใบ  เป็น ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ ออกตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ปลายแหลม โคนมน ผิวใบมัน และหนา สีเขียวเข้ม กว้าง 10 – 15 ซม. ยาว 20 – 27 ซม. - ดอก  ออกดอกเป็น ช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูมเป็นก้อนกลมขนาด 1 ซ.ม. มีหลายสี เช่น ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ชมพูอมม่วง ชมพูอ่อนเกือบขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ รูปทรงดอกค่อนข้างกลม ขอบกลีบหยักย่น แผ่นกลีบบางและนิ่ม โคนกลีบเรียว เป็นก้าน เชื่อมกับกลีบรองที่เป็นรูปถ้วย กลีบรองปลายแฉก 6 แฉก สีน้ำตาลแดง เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 10 ซม. - ฝัก/ผล  เป็นรูปกลม รี เปลือกแข็ง เมื่อผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดด้านในจำนวนมาก - เมล็ด  ใน 1 ผล มีประมาณ 6 เมล็ด เมล็ด ขนาดเล็กสีน้ำตาล มีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก
สรรพคุณ/ประโยชน์ เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย - ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน -เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ - แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน - ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros Decandra Lour
ลักษณะสำคัญ ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ
สรรพคุณ/ประโยชน์ บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จันทร์หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansonia gagei Drumm.
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10 - 20 เมตร
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จามจุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacg.) Merr
ลักษณะสำคัญ จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ - รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ด - รสฝาด แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ เปลือกต้น - รสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โลหิตตกใน
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จิกทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
ลักษณะสำคัญ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูง 10 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีชมพูอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบ
สรรพคุณ/ประโยชน์ เมล็ดใช้ขับพยาธิ ใบผลและเปลือก เป็นยารักษาบรรเทาอาการปวดศรีษะ เปลือกผล หรือ เนื้อของผล ทำห้คนนอนไม่หลับ หลับสบายและใช้เป็นยาเบื่อปลา
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จันทร์กระจ่างฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pentalinon luteum
ลักษณะสำคัญ ต้น    ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง อายุหลายปี ลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียว และมีสีเเดงเรื่อ - ใบ    เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 เซนติเมตร  ยาว 7-9 เซนติเมตร ปลายและโคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวสดเป็นมัน - ดอก    สีเหลืองสด ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกรูปแตร โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก รูปกลมซ้อนเกยกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวขนาดเล็กเป็นเส้นๆ 5 อัน เกสรเพศผู้ 5 อัน ปลายโน้มมาจรดติดกัน แต่มีเกสรเพศ ผู้แยกจากกัน
สรรพคุณ/ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท  
   


   
ชื่อ จันผา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena loureiri Gagnep
ลักษณะสำคัญ ต้นจันผา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง หรือเป็นเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-4 เมตร (ต้นโตเต็มที่อาจมีความสูงถึง 17 เมตร) เรือนยอดเป็นรูปทรงไข่ มีเรือนยอดได้ถึง 100 ยอด เมื่อต้นโตขึ้นจะแผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรง กลม มีแผลใบเป็นร่องขวางคล้ายข้อถี่ๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว ไม่มีกิ่งก้าน ใบจะออกตามลำต้น ส่วนแก่นไม้ด้านในเป็นสีแดง ต้นเมื่อมีอายุมากขึ้นแก่นจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง เราจะเรียกแก่นสีแดงว่า “จันทน์แดง” เมื่อแก่นเป็นสีแดงเต็มต้น ต้นก็จะค่อยๆ โทรมและตายลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะกล้าจากเมล็ดหรือการแยกกอ ชอบดินปนทรายหรือหินที่มีการระบายน้ำดี ความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดเต็มวันและแสงรำไร มักพบขึ้นตามป่าภูเขาหินปูนสูงๆ และมีแสงแดดจัด - ใบจันผา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันถี่ๆ ที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีขอบขนาน หรือเป็นรูปแถบยาวแคบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 45-80 เซนติเมตร เนื้อใบหนากรอบ โคนใบจะติดกับลำต้นหรือโอบคลุมลำต้น ไม่มีก้านใบ และมักจะทิ้งใบเหลือเพียงยอดเป็นพุ่ม - ดอกจันผา ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด โค้งห้อยลง ออกดอกเป็นพวงใหญ่ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อจะมีความยาวประมาร 45-100 เซนติเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กและมีจำนวนมากมายหลายพันดอก ดอกเป็นสีขาวนวล หรือขาวครีม หรือเขียวอมเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม ตรงกลางดอกมีจุดสีแดงสด กลีบดอกมี 6 กลีบ ดอกมีขนาดประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้จำนวน 6 อัน ก้านเกสรมีความกว้างเท่ากับอับเรณู ส่วนก้านเกสรตัวเมียปลายแยกเป็นพู 3 พู ชั้นกลีบเลี้ยงเป็นหลอด ที่ปลายกลีบแยกเป็นพูแคบๆ 6 พู ไม่ซ้อนกัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม - ผลจันผา ออกผลเป็นช่อพวงโต ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นพวง ผลมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมสีน้ำตาล ส่วนผลแก่เป็นสีแดงคล้ำ ภายในผลมีเมล็ดเดียว โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
สรรพคุณ/ประโยชน์ แก่นมีรสขมเย็น สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ (แก่น /ทั้งต้น) - แก่นที่มีเชื้อราลง จนทำให้แก่นเป็นสีแดงและมีกลิ่นหอมมีสีแดง (เรียกว่า จันทน์แด]) มีรสขมและฝาดเล็กน้อย ใช้สำหรับเป็นยาเย็นดับพิษไข้ แก้ไข้ได้ทุกชนิด และจากการทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ในการลดไข้ แต่ต้องใช้ในปริมาณมากกว่ายาแอสไพริน 10 เท่า และจะออกฤทธิ์ช้ากว่ายาแอสไพรินประมาณ 3 เท่า (แก่น/แก่นที่ราลง) - ช่วยแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดีพิการ (แก่น/เนื้อไม้) - ช่วยแก้ไอ แก้อาการไออันเกิดจากซางและดี (แก่น/เนื้อไม้) - เมล็ดใช้รักษาดีซ่าน (เมล็ด) - ช่วยแก้อาจมไม่ปกติ (เมล็ด) - ทั้งต้นช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น) - ช่วยแก้ซาง (แก่น) - ช่วยแก้อาการเหงื่อตก อาการกระสับกระส่าย (แก่น) - ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (แก่น-ทั้งต้น) - ช่วยแก้ดีพิการ แก้น้ำดีพิการ (แก่น/เนื้อไม้) - ช่วยแก้บาดแผล รักษาบาดแผล (แก่น/ราก) - แก่นใช้ฝนทาช่วยแก้อาการฟกบวม ฟกช้ำ ฝี บวม (แก่น) - ช่วยแก้พิษฝีมีที่อาการอักเสบและปวดบวม (แก่น/ทั้งต้น) - จันผาจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดเบญจโลธิกะ” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง (แก่นจันผา/ แก่นจันทน์ขาว/ แก่นจันทน์ชะมด/ ต้นเนระพูสี/ ต้นมหาสะดำ) ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดี แก้ลมวิงเวียน กล่อมพิษทั้งปวง และช่วยแก้รัตตะปิตตะโรค (แก่น) - จันผาจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดจันทน์ทั้งห้า” (แก่นจันผา (แก่นจันทน์แดง)/ แก่นจันทน์ขาว/ แก่นจันทน์ทนา/ แก่นจันทน์เทศ/ แก่นจันทน์ชะมด) ซึ่งเป็นตำรับที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อโลหิตและดี ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงตับปอดและหัวใจ และช่วยแก้พยาธิบาดแผล (แก่น) - จันผาปรากฏอยู่ในตำรับยา “มโหสถธิจันทน์” อันประกอบไปด้วยจันทน์ทั้งสอง ได้แก่ จันทน์แดง (จันผา) และจันทน์ขาว ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ อีก 13 ชนิด ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั้งปวงที่มีอาการตัวร้อนและมีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ได้ (แก่น) - จันผาปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” อันประกอบไปด้วยจันทน์แดง (จันผา) ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกในตำรับ ซึ่งเป็นตำรับที่ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน และไข้เปลี่ยนฤดู (แก่น) - จันผาปรากฏอยู่ใน “ตำรับยาเขียวหอม” ซึ่งเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษสุกใส แก้พิษหัด บรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส (แก่น) - นอกจากนี้จันผาหรือจันทน์แดงยังปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) อันได้แก่ ตำรับยา “ยาหอมนวโกฐ” และตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” โดยเป็นตำรับยาที่มีส่วนประกอบของจันผาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกในตำรับ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง (แก่น) - จันผาจัดอยู่ในตำรับ “ยาประสะจันทน์แดง” (ประกอบไปด้วยจันทน์แดง (จันผา) จำนวน 32 ส่วน รากมะนาว รากมะปรางหวาน รากเหมือนคน โกฐหัวบัว จันทน์เทศ ฝางเสน เปราะหอม อย่างละ 4 ส่วน ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกสารภี และเกสรบัวหลวง อย่างละ 1 ส่วน นำมาบดเป็นผงสำหรับใช้เป็นยา)  ซึ่งตำรับยานี้มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อน และช่วยแก้กระหายน้ำ สำหรับวิธีใช้ให้นำผงยาที่ได้ (ผู้ใหญ่ให้ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ส่วนเด็กให้ใช้ครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ) นำมาละลายในน้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิ ใช้รับประทานทุกๆ 3 ชั่วโมง (แก่น)
 
 
สถานที่ค้นพบ  
ประเภท